ถ้าหากพูดถึงการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงในยุคนี้เชื่อว่าหลายคน คงต้องตอบว่าลงทุนใน Decentralize Finance (DeFi) น่าจะเป็นคำตอบที่เด้งขึ้นมาเป็นคำตอบแรก แต่บางคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่า “ความเสี่ยงของ DeFi” มีอะไรบ้าง การลงทุนเมื่อมีผลตอบแทนที่สูง สิ่งหนึ่งที่ตามมาเสมอก็คือ “ความเสี่ยง” ที่สูงด้วย วันนี้ Za.in.th พาไปดูกันว่า ถ้าเราอยากลงทุน DeFi เราจะต้องพบเจอกับ “ความเสี่ยงของ DeFi” อะไรกันบ้างที่เราจะระมัดระวังและเข้าใจก่อนการลงทุน
DeFi หรือ Decentralized Finance นั้น เกิดจากการรวมตัวกันของคอมมูนิตี้ Ethereum Developer ในโปรเจกต์ต่าง ๆ เช่น MakerDao Kybernetwork Compound และอื่น ๆ โดยเป็นการพูดถึงแนวคิดของการสร้างระบบการเงินไร้ตัวกลาง ที่สามารถทำในสิ่งที่ระบบการเงินปัจจุบันหรือธนาคารทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการ สร้างสินทรัพย์ กู้ยืม ค้ำประกัน โอนสินทรัพย์ รวมไปถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ระบบการเงินปัจจุบันทำได้ ซึ่งอาจจะรวมไปถึงตลาดเงิน สินทรัพย์ หรือแม้แต่หุ้นเลยทีเดียว Bitcoin และ Ethereum ถือได้ว่าเป็นรากฐานของ DeFi ที่สามารถสร้างระบบที่สามารถสร้างมูลค่าแก่เหรียญ มอบความปลอดภัย และความสามารถในการโอนสินทรัพย์แบบไร้ตัวกลางได้ แต่ Bitcoin นั้นเป็นเพียง Proof of concept ของ DeFi สำหรับการทำธุรกรรมที่ไม่อาศัยตัวกลางเท่านั้น เพราะว่าในแง่การใช้งานนั้นมันจำกัดมาก เราไม่สามารถเขียนคำสั่งที่ซับซ้อนลงไปใน Bitcoin ได้เลยด้วยซ้ำ
ความเสี่ยงของ DeFi
– Rug Pull เงินที่เรานำไปลงทุนใน DeFi Platform ถูกโอนเงินหายไปทำให้เราไม่สามารถดึงเงินคืนกลับมาได้
– ถูก Hack ซึ่ง Code ที่ไปดึงมาใช้ (Fork) หรือ Code ที่เขียนขึ้นมามีช่องว่างทำให้ Hacker สามารถเจาะระบบของ DeFi Platform
– การ Scam การเจ้าของ Project ก็ไม่พัฒนาต่อ หรือตัวเจ้าของเองแอบนำเหรียญของตัวเองเทขายอย่างมหาศาลทำให้ราคาร่วงต่ำลง
– ความผันผวนของราคา ความผันผวนของราคา ซึ่งจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Impermanent Loss
– ค่าธรรมเนียมที่สูง ต้องอ่านและจดบันทึกทุกธุรกรรมที่เราทำ เพราะไม่แน่ว่าบาง DeFi Platform เรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงมาก ยิ่งมีขั้นตอนเยอะก็ยิ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สูงมากขึ้น ซึ่งค่าธรรมเนียมเองก็ถือว่าเป็นต้นทุนในการลงทุนที่ทำให้ผลตอบแทนสุทธิของเราน้อยลง
– ความเข้าใจการใช้งาน Blockchain การโยกย้ายเงินไป ๆ มา ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายสำหรับมือใหม่เลย มีโอกาสที่เราจะโอนเงินผิด เงินอาจจะหายได้ หรือถ้าเราโอนเงินไปผิดกระเป๋าสตางค์ก็อาจจะทำให้เราเสียค่าธรรเนียมซ้ำซ้อนและเกิดความเสียหายได้เช่นกัน
ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาสู่ DeFi
ใช้งานได้ทั่วโลกตั้งแต่แรก เดิมทีการทำบริการทางการเงินจะอยู่จำกัดบนเครือข่ายของตัวกลางเท่านั้น กล่าวคือ หากตัวกลางไม่ได้เชื่อมเครือข่ายกับปลายทาง เราก็ไม่สามารถทำธุรกรรมไปยังปลายทางนั้นได้ ต่างจาก DeFi ส่วนใหญ่ที่ใช้บล็อกเชนบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ทุกคนที่ใช้บริการระบบเดียวกันนี้สามารถใช้บริการได้จากทุกที่บนโลก
ทำงานอัตโนมัติได้ทุกขั้นตอน แม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น แต่การเงินแบบรวมศูนย์ก็ยังไม่สามารถทำงานเป็นอัตโนมัติได้ทุกขั้นตอน ทำให้นอกจากจะมีต้นทุนแล้ว ยังอาจนำไปสู่ข้อผิดพลาดได้ ส่วน DeFi ยืนพื้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมาตั้งแต่แรก และมักออกแบบให้ตัวกลางทำงานได้อัตโนมัติ จึงทำงานได้แม่นยำกว่า
ต้นทุนธุรกรรมต่ำกว่า ค่าบริการต่ำกว่า ผลตอบแทนน่าสนใจกว่า แนวคิด DeFi ใช้เทคโนโลยีที่มีความพร้อมทั้งการเข้าถึงและการทำงานโดยอัตโนมัติเพื่อบันทึกธุรกรรม โดยส่วนมากจึงมีค่าใช้จ่ายดำเนินการที่ต่ำกว่าการทำงานของตัวกลางแบบรวมศูนย์ที่ต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเองตั้งแต่จัดทำโครงสร้างพื้นฐานจนถึงการสร้างระบบ เมื่อต้นทุนธุรกรรมต่ำลง จึงสามารถกำหนดค่าบริการที่ต่ำกว่า รวมถึงให้ผลตอบแทนอย่างดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าเดิมได้
ขยายขีดจำกัดของโลกการเงิน เมื่อ DeFi มีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล ทุกคนจึงมีส่วนร่วมกับการทำงานของระบบได้มากกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเงื่อนไขผ่าน Smart Contract ทำให้การกู้เงินหรือการเคลมประกันภัยเป็นไปโดยอัตโนมัติ การแบ่งสิทธิถือครองหลักทรัพย์ในหน่วยย่อยกว่าเดิมทำให้เข้าถึงนักลงทุนได้มากขึ้น หรือการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ระหว่างกันด้วยค่าธรรมเนียมดำเนินการที่ต่ำลง
การรวมศูนย์การควบคุมดูแลทั้งหมดไว้ที่ตัวกลางก็เป็นความเสี่ยงไม่แพ้กัน เนื่องจากผู้กระทำผิดสามารถโจมตีระบบของตัวกลางได้โดยตรง อันจะนำมาสู่ความเสียหายที่รุนแรงจนถึงขั้นที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้ โดยธนาคารกลางยุโรปอ้างอิงรายงานประเมินว่าหากเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ไปยังธนาคารสำคัญของโลก อาจนำมาสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงถึง 654 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และแน่นอนว่า DeFi ซึ่งใช้คุณสมบัติกระจายศูนย์ของข้อมูลจะสามารถลดความเสี่ยงจากการโจมตีรูปแบบดังกล่าว