หลายคนที่กำลังจะศึกษาและลงทุนในกองทุนรวมก็คงจะให้ความสนใจกับการจัดพอร์ตการลงทุน แต่ก่อนจะถึงขั้นตอนนั้น นักลงทุนเองก็ควรที่จะเข้าใจเรื่องของผลตอบแทนให้ท่องแท้เสียก่อน โดยผลตอบแทนนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ ผลตอบแทนรวม (Total Return) คือผลตอบแทนที่ได้รวมเงินปันผล และผลตอบแทนจากราคา (Price Return) ที่เป็นผลตอบแทนไม่รวมปันผล ซึ่งผลตอบแทนและความเสี่ยงของทั้งสองแบบนั้นมีความใกล้เคียงกันมา ดังนั้นนักลงทุนไม่ควรสับสนตรงนี้ สำหรับกองทุนที่มีมีนโยบายจ่ายเงินปันผลอาจจะเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนระหว่างทาง แต่ต้องไม่ลืมว่าเงินปันผลนั้นต้องเสียภาษีด้วยเช่นเดียวกัน
จัดพอร์ตลงทุนให้ประสบผลสำเร็จ
การลงทุนในปัจจุบันไม่คงลงทุนในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียวเพราะแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันะไม่มีสินทรัพย์ใดที่จะให้ผลตอบแทนได้ดีที่สุดในทุกปี สลับกันไปตามภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้นกลยุทธ์การบริหารพอร์ตแบบมอง “ผลตอบแทนรวม (Total Return)” ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าจะเหมาะกับนักลงทุนมากกว่า ควรกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อย่างเหมาะสมตามระดับความเสี่ยง ที่ตัวเองสามารถจะรับได้เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่ดีให้กับตัวเอง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปเลือกลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงอย่างเดียว
หลายคนมีปัญหาหลังจากการจัดพอร์ตการลงทุนไปแล้ว ก็ไม่ได้มีเวลาในการปรับพอร์ต ซึ่งการที่เราไม่ได้ติดตาม ก็อาจจะทำให้ความเสี่ยงของพอร์ตเราเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้เช่น ถ้าปีนี้หุ้นดีสัดส่วนหุ้นในพอร์ตของเราก็จะเพิ่มมากขึ้นไปโดยปริยาย ถ้าเกิดปีหน้าหุ้นตกอย่างหนัก ตัวอย่างการปรับพอร์ต คือ สินทรัพย์ A ที่มี“ความเสี่ยงสูง” “ผลตอบแทนสูง” หากลงทุนเพียงสินทรัพย์เดียวทั้ง 100% ความเสี่ยงก็จะสูงและโอกาสได้รับผลตอบแทนก็จะสูงตามสินทรัพย์ A ไปด้วยแต่เมื่อนักลงทุนแบ่งเงินลงทุนบางส่วนอาจจะ50% ไปลงทุนในสินทรัพย์B ที่มี“ความเสี่ยง” และ “ผลตอบแทน” ที่ต่ำกว่าก็จะช่วยดึงความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนลงมาให้น้อยกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ A 100%เพียงอย่างเดียวในขณะที่ผลตอบแทนก็จะอยู่ระหว่างผลตอบแทนของสินทรัพย์ A และสินทรัพย์ B นั่นเอง ตัวอย่างกองทุนที่มีการนำกลยุทธ์การจัดพอร์ตการลงทุนตามช่วงอายุเพื่อจะมาตอบโจทย์นักลงทุนในแต่ละช่วงวัยได้ดียิ่งขึ้นและทำให้นักลงทุนลงทุนได้ง่ายขึ้น
“กองทุนเปิดกรุงศรีไลฟ์สเตจ 20 พลัส (KFLS20PLUS)”
เหมาะกับคนอายุระหว่าง21–30 ปีซึ่งเป็นวัยเริ่มทำงาน ยังไม่มีภาระต้องรับผิดชอบอะไรมากนักมีเป้าหมายในการออมเพื่อสร้างฐานะ โดยเริ่มต้น ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว โดยจะมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ 20% หุ้น 70% และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในทองคำ 10% ทั้งนี้กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า65%ของ NAVและ ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 70%ของ NAV
“กองทุนเปิดกรุงศรีไลฟ์สเตจ 30 พลัส (KFLS30PLUS)”
เหมาะกับคนช่วงอายุระหว่าง 31–54 ปีซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีรายได้และรายจ่ายเพิ่มสูงขึ้นจึงต้องกระจายการลงทุนให้หลากหลาย และลดความเสี่ยงจากการลงทุน โดยจะมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้40%หุ้น 50% และ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในทองคำ 10% ทั้งนี้กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นไม่เกิน 50% ของ NAV โดยเน้นลงทุน ในหุ้นที่มีแนวโน้มจ่ายปันผลด
“กองทุนเปิดกรุงศรีไลฟ์สเตจ 55 พลัส (KFLS55PLUS)”
เหมาะกับคนช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยเกษียณที่มีเป้าหมายบริหารรายรับสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน เนื่องจากไม่มีรายได้ประจำ จึงต้อง
เน้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ โดยจะมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้70%หุ้น 20%และหน่วยลงทุนของกองทุน รวมต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในทองคำ 10% ทั้งนี้กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นไม่เกิน 20% ของ NAV