ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนจะได้ประโยชน์เต็ม ๆ ในช่วงนี้เพราะทั่วโลกมีการออกนโยบายยลดโลกร้อน ความต้องการใช้สินค้าหรือบริการของภาคธุรกิจที่มีส่วนลดก๊าซคาร์บอนเติบโตขึ้น จึงเป็นกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน เร่งให้นักลงทุนจำนวนมากขึ้นเริ่มให้ราคากับเรื่องความยั่งยืน ใครที่ถือครองสินทรัพย์ที่มีเรื่องความยั่งยืนก็จะได้ประโยชน์นี้ และช่วงเวลานี้ก็ถือว่าเป็นแค่ช่วงเริ่มต้นของการเดินทางสายเขียวเท่านั้น
หุ้นกลุ่มที่นักลงทุนควรให้ความสนใจมากๆ เพราะจะได้ประโยชน์จากนโยบายลดก๊าซคาร์บอนไปเต็ม ๆ ซึ่งได้แก่ กลุ่มพลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากขยะ หรือทางเลือกอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การนำเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้ รถยนต์ไฟฟ้า ที่ทั่วโลก ผลักดันให้คนในประเทศหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น เทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และหรือนวัตกรรมที่มีส่วนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เช่น เทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารสีเขียวการลงทุนกลุ่ม ESG ในประเทศไทยนั้นมีกองทุนที่ลงทุนยั่งยืน 48 กองทุน มูลค่า 56,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2020 ถึง 86.5% โดยกองทุนยั่งยืน ส่วนใหญ่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งก็มีแค่ 15 กองทุนเท่านั้นที่ลงทุนในประเทศไทยที่มีมูลค่า 1,500 ล้านบาท TOP 5 กองทุนยั่งยืนในไทยที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด ได้แก่
กองทุนK-CHANGE-A(A) บลจ.กสิกรไทย 13,500 ล้านบาท
กองทุนเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Baillie Gifford Positive Change Fund – Class B accumulation (GBP) (กองทุนหลัก) • กองทุน Baillie Gifford Positive Change Fund – Class B accumulation (GBP) (กองทุนหลัก) ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งโดย Financial Conduct Authority (FCA) โดยเป็นกองทุน non-UCITS ที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ FCA’s Collective Investment Schemes Sourcebook (COLL) และเป็น Alternative Investment Fund (AIF) ที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ FCA’s Investment Funds Sourcebook (FUND) กองทุนหลักบริหารจัดการโดย Baillie Gifford & Co Limited โดยอยู่ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องของสหราชอาณาจักร (United Kingdom) กองทุนป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ • บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงประเภทและลักษณะพิเศษของกองทุนรวมในอนาคตเป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds) หรือเป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนโดยตรงในตราสาร และ/หรือหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ หรือสามารถกลับมาเป็นกองทุนรวมฟีดเดอร์ (Feeder Fund) โดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) เพิ่มขึ้น • กองทุน K-CHANGE-SSF เสนอขายหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป นโยบายกองทุน Baillie Gifford Positive Change Fund – Class B accumulation (GBP) (กองทุนหลัก) Bloomberg Ticker: BGPCBAG:LN กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือมีพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงบวก (Positive Impact) ต่อสังคมโดยรวม หรือสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา ความเท่าเทียมทางสังคม คุณภาพของระบบการดูแลสุขภาพ และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยมีการลงทุนแบบกระจุกตัวในหุ้นของบริษัททั่วโลกประมาณ 25-50 หุ้น
กองทุนT-ES-GGREEN บลจ.ธนชาต 11,869 ล้านบาท
กองทุนจะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียว คือ กองทุน Brookfield GlobalRenewables and Sustainable Infrastructure UCITS Fund (กองทุนหลัก) ในหน่วยลงทุนชนิด Class E ซึ่งเป็นClass ที่เสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อย ละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างผลตอบแทนโดยรวม โดยมุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกที่ท าธุรกิจเกี่ยวกับหรือกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนและโครงสร้างพื้นฐานแบบยั่งยืน จดทะเบียนในประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) ดำเนินงานตามระเบียบของUCITS กองทุนหลักดังกล่าวบริหารจัดการโดย Brookfield Investment Funds (UCITS) p.l.c และลงทุนในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
กองทุนMRENEW-D บลจ.เอ็มเอฟซี 5,638 ล้านบาท
กองทุนมีนโยบำยลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่ำงประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) คือBGF Sustainable Energy Fund (กองทุนหลัก) ในชนิดหน่วยลงทุน (share class) “D2” ในสกุลเงินเหรียญดอลลำร์สหรัฐ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่ำร้อยละ 80 ของมูลค่ำทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมซึ่งกองทุนหลักเป็นกองทุนที่อยู่ภำยใต้ BlackRock Global Fund และบริหำรจัดกำรโดย BlackRock(Luxembourg) S.A. ทั้งนี้ กองทุนหลักจดทะเบียนจัดตั้งที่ประเทศลักเซมเบิร์ก ภำยใต้การก ำกับดูแลของCommission de Surveillance du Secteur Financier (CSSF) และเป็นไปตำมกฎเกณฑ์ของ UCITS
กองทุนB-SIP บลจ.บัวหลวง 3,180 ล้านบาท
กองทุนมีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนภายใต้การจัดการของ Pictet Asset Management ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป (กองทุนปลายทาง) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุนปลายทางจะเน้นลงทุน ในบริษัททั่วโลกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainability) โดยคำนึงผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งกองทุนจะลงทุนในกองทุนปลายทางกองทุนใดกองทุนหนึ่งโดยเฉลี่ย รอบปีบัญชีไม่เกิน 79% ของ NAV โดยผู้จัดการกองทุนสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน ปลายทางได้ตามความเหมาะสม ส่วนที่เหลือ อาจพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง Derivatives เพื่อป้องกันความ เสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และ/หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการลงทุน (EPM) และ/หรือ Structured Note และกองทุนอาจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การจัดการเดียวกัน โดยเฉลี่ยรอบปี บัญชีไม่เกิน 20% ของ NAV บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงประเภทและลักษณะพิเศษของกองทุนเป็นกองทุนรวมฟีดเดอร์ (Feeder Funds) หรือ ลงทุนโดยตรง หรือสามารถกลับมาเป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds) ได้โดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงของการลงทุน (Risk Spectrum) เพิ่มขึ้น และผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยขึ้นdกับสถานการณ์ตลาด ณ ขณะนั้น และต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน
กองทุน KT-CLIMATE-A บลจ.กรุงไทย 2,659 ล้านบาท
กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Schroder International Selection Fund Global Climate Change Equity (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว ในชนิดหน่วยลงทุน (share class) “C” ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม กองทุนเปิดเคแทม โกลบอล ไครเมท เชนจ์ อิควิตี้ ฟันด์ อาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนตามความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ นอกจากนี้ ในส่วนของการลงทุนในประเทศ กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสาร ดังต่อไปนี้ 1. ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) 2. ตราสารแห่งหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (non – investment grade) ตราสารแห่งหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Securities) หลักทรัพย์ของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Unlisted Securities) อย่างไรก็ตาม กองทุนอาจมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) เฉพาะกรณีที่ตราสารหนี้นั้นได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ขณะที่กองทุนลงทุนเท่านั้น กองทุนอาจกู้ยืมเงิน หรือทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ ธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน หรือธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (Reverse Repo) โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงประเภทและลักษณะพิเศษของกองทุนรวมในอนาคตเป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds) หรือเป็นกองทุนรวมที่มีการลงทุนโดยตรงในตราสาร และ/หรือหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ หรือสามารถกลับมาเป็นกองทุนรวมฟีดเดอร์ (Feeder Fund) โดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาด โดยเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน อนึ่ง บริษัทจัดการจะดำเนินการแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่ว