“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)” คือ กองทุนที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งและช่วยกันใส่เงินลงทุนเข้าไปในกองทุน เงินที่ลูกจ้างใส่เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะถูกเรียกว่า “เงินสะสม” และ เงินที่นายจ้างใส่เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะถูกเรียกว่า “เงินสมทบ” ฃ
คำแนะนำสำหรับการลงทุนตามช่วงอายุต่างๆ
- ช่วงอายุ 22 – 30 ปี เป็นช่วงเริ่มต้นการทำงาน และยังไม่มีภาระมากเท่าไหร่ อีกทั้งมีระยะเวลาการลงทุนที่นาน รับความเสี่ยงได้สูง สามารถเลือกลงทุนในหุ้นได้ถึง 80 – 90% และอีก 10 – 20% ก็เลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย
- ช่วงอายุ 31 – 45 ปี เป็นช่วงของการสร้างครอบครัว หน้าที่การงานเริ่มมั่นคง รายได้สูงขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วย อีกทั้งยังมีภาระต่างๆ ให้รับผิดชอบมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการรับความเสี่ยงน้อยลง ดังนั้นแนะนำให้ลงทุนหุ้นประมาณ 50% ส่วนอีก 50% ให้นำไปลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากประจำเพื่อเป็นการลดระดับความเสี่ยงของพอร์ตลง
- ช่วงอายุ 46 – 55 ปี เป็นช่วงของการเตรียมเงินเพื่อการเกษียณอายุ ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาการลงทุนที่เหลือสั้นลง ทำให้ช่วงนี้ต้องทยอยลดการลงทุนในหุ้นให้เหลือประมาณ 30 – 40%
- อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป เป็นช่วงอายุที่เข้าสู่วัยเกษียณ ต้องระมัดระวังการลงทุนให้มากที่สุด เพราะไม่สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงได้มากเหมือนวัยอื่นๆ แนะนำปรับพอร์ตการลงทุนให้เหลือการลงทุนในหุ้นประมาณ 10 – 15%
สิทธิประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เปรียบเสมือนการลงทุนโดยสมัครใจรูปแบบหนึ่ง ที่จะผูกพันไปในระยะยาว โดยคุณแทบจะไม่รู้สึกตัวว่า ได้ออมเงินทีละเล็กทีละน้อยแบบนี้ในทุก ๆ เดือน ซึ่งปัจจุบันในองค์กรธุรกิจชั้นนำส่วนใหญ่จะมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นมา โดยลูกจ้างจะมีหน้าที่จ่าย “เงินสะสม” และนายจ้างจะเป็นผู้จ่าย “เงินสมทบ” เข้ากองทุนฯ ในจำนวนไม่น้อยกว่าที่ลูกจ้างจ่ายเงินสะสม แต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน เงินสะสมนี้จะถูกบริหารโดยมืออาชีพผ่านบริษัทจัดการกองทุนหรือ บลจ. ที่ได้รับการคัดเลือกจากบริษัทที่คุณทำงานอยู่ ซึ่งจะมีการนำเงินกองทุนไปลงทุนในตราสารประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนฯ นั้น ๆ โดยเงินที่คุณจ่ายสะสมเข้ากองทุนไปทุก ๆ ปี สมาชิกกองทุนมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง โดยจะได้รับส่วนของเงินสะสมเต็มจำนวนทุกกรณี พร้อมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสะสม สำหรับในส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสมทบ สมาชิกจะได้รับตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน ที่กำหนดขึ้นโดยหน่วงงานที่คุณทำงานอยู่ โดยปกติจะมีลำดับขั้นการได้รับเงินสมทบ ซึ่งแต่ละแห่งจะกำหนดเอาไว้ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
พนักงานจะได้เงินสมทบ 5% เมื่อทำงานครบ 1 ปี
พนักงานจะได้เงินสมทบ 10% เมื่อทำงานครบ 2 ปี
พนักงานจะได้เงินสมทบ 30% เมื่อทำงานครบ 5 ปี
พนักงานจะได้เงินสมทบ 50% เมื่อทำงานครบ 7 ปี
พนักงานจะได้เงินสมทบ 100% เมื่อทำงานครบ 10 ปี
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แบ่งเป็นรูปแบบดังนี้
เป็นกองทุนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ คณะกรรมการกองทุนสามารถกำหนดนโยบายร่วมกับบริษัทจัดการเองได้
1.2 กองทุนร่วม (Pooled Fund) หมายถึง กองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปภายใต้นโยบายการลงทุนเดียวกัน เหมาะสำหรับบริษัทที่มีเงินกองทุนไม่มาก หรือบริษัทที่จะเริ่มจัดตั้งกองทุนเป็นครั้งแรก หรือ บริษัทที่มีพนักงานจำนวนไม่มากมีประโยชน์ในด้านการลดภาระค่าใช้จ่ายและเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นได้
2.2 กองทุนร่วม (Master Pooled Fund) หมายถึง กองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดย 1 กองทุนสามารถกำหนดนโยบายการลงทุนได้หลายนโยบาย เหมาะสำหรับบริษัทที่ยังไม่เคยจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งต้องการนโยบายการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นพร้อมกันนี้ ยังรองรับการจัดทำ Employee’s Choice เมื่อสมาชิกมีความพร้อมในการลงทุนด้วยตัวเอง
หากไม่มีวินัยในการออม ไม่สามารถเก็บเงินด้วยตัวเอง หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน แนะนำสะสมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างน้อย 10% ของเงินเดือน แต่ถ้าเป็นไปได้ขอให้ลงทุนเต็มสิทธิ์ 15% ของเงินเดือน เพราะข้อดีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือ บริษัทจะหักเงินสะสมออกจากบัญชีเงินเดือนเลยทันที ทำให้เราได้ “Pay Yourself First” หรือ ได้จ่ายตัวเองก่อนนั่นเอง หากคิดว่าสามารถหาการลงทุนที่ได้อัตราผลตอบแทนคาดหวังสูงกว่าที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทำได้ และมีวินัยในการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เช่น ลงทุนได้อย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง ก็อาจเลือกเอาไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นแทนได้ แต่อย่าลืมว่าเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงใดๆ เราต้องมีวินัยในการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และควรเป็นการลงทุนระยะยาว องทุนสำรองเลี้ยงชีพนับได้ว่าเป็นแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณอายุที่สำคัญมากสำหรับพนักงานบริษัทเลยก็ว่าได้ เราจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุน สนใจติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนอยู่เสมอ รวมไปถึงเลือกแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ตอบโจทย์เป้าหมายการเกษียณอายุของเราได้นั่นเอง