กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ออมเงินไว้เกษียณสุขใจมีเงินใช้

1 Min Read

กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นกองทุนสำหรับประชาชนคนไทยที่ไม่ได้อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญสามารถมีบำนาญได้ โดยรัฐบาลจึงจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบของบำนาญ อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐ ซึ่งให้มีเงินออมในยามเกษียณในรูปแบบบำนาญ และที่สำคัญทุกครั้งที่เราออมกับกอช. รัฐจะช่วยสมทบเงินออมเข้าไปเพิ่มด้วย เรียกว่าได้ถึง 2 เด้ง

ผู้ที่มีสิทธิ์เป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติต้องมีคุณสมบัติดังนี้คือ

1. สัญชาติไทย
2. อายุไม่น้อยกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี
3. ไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้า
4. ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชน

การสมทบเงินของรัฐนั้นจะสมทบให้เราตามช่วงอายุของสมาชิก ดังนี้

1. ช่วงอายุ 15 – 30 ปี รัฐสมทบเงินออมให้ 50% ในการออมแต่ละครั้ง
โดยรวมกันทั้งปีไม่เกิน 600 บาท (ถ้าคิดที่การออมเต็มจำนวน 13,200 บาท เหมือนได้เงินสมทบ 4.5% ฟรี)
2. ช่วงอายุ 30 – 50 ปี รัฐสมทบเงินออมให้ 80% ในการออมแต่ละครั้ง
โดยรวมกันทั้งปีไม่เกิน 960 บาท (ถ้าคิดที่การออมเต็มจำนวน 13,200 บาท เหมือนได้เงินสมทบ 7.2% ฟรี)
3. ช่วงอายุ 50 – 60 ปี รัฐสมทบเงินออมให้ 100% ในการออมแต่ละครั้ง
โดยรวมกันทั้งปีไม่เกิน 1,200 บาท (ถ้าคิดที่การออมเต็มจำนวน 13,200 บาท เหมือนได้เงินสมทบ 9% ฟรี)

ประโยชน์ที่ได้จากการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ

1. บำนาญรายเดือนตลอดชีพ
แต่ส่วนนี้มีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับเวลาที่เราเริ่มออมและจำนวนเงินเราออมด้วย เช่น
ถ้าออมเงินเต็มจำนวน 13,200 บาทต่อปีตั้งแต่อายุ 15 – 60 ปีจะมีโอกาสได้บำนาญสูงสุด 7,000 บาท/เดือน
ถ้าออมเงินเต็มจำนวน 13,200 บาทต่อปีเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป จะได้บำนาญขั้นต่ำ 600 บาท/เดือน
2. ค้ำประกันผลตอบแทน
กอชจะค้ำประกันผลตอบแทน(ค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง) สำหรับสมาชิกที่ออมจนครบอายุ 60 ปี โดยจะได้ผลตอบแทนไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน เฉลี่ย 7 ธนาคาร (โดยทั่วไปก็ประมาณ 1%)
3. นำไปลดหย่อนภาษีได้
เงินที่เราส่งให้กับกอช. สามารถนำไปลดภาษีได้ตามข้อกำหนดแต่จะไม่เกิน 500,000 บาท

การได้รับเงินคืนจากกองทุนการออมแห่งชาติ

การได้รับเงินคืนของกอช. จะแบ่งออกเป็น 3 กรณีคือ
1. เป็นสมาชิกจนครบ 60 ปี บริบูรณ์ เราจะได้เงินสะสมและผลตอบแทนในรูปของบำนาญรายเดือน
2. สมาชิกเสียชีวิต จะได้เงินสะสมและผลตอบแทนในรูปของบำเหน็จ
3. สมาชิกลาออกก่อนอายุ 60 ปี บริบูรณ์ จะได้แค่เงินสะสมของเราเท่านั้น เงินส่วนที่รัฐสมทบให้จะไม่ได้

ยิ่งออมเร็วยิ่งดี ซึ่งถือได้ว่าเป็นการออมขั้นพื้นฐานเพื่อฝึกวินัยและเป็นหลักประกันว่าเมื่ออายุ 60 ปี เราจะมีเงินบำนาญมาช่วยเลี้ยงดูตัวเองได้ในระดับนึง นอกจากนี้แล้วเราก็ควรจะลงทุนอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณ เช่น ออมกองทุนอิงดัชนี ออมหุ้น เพื่อที่เราจะสามารถเกษียณได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวล

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่