การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์ภาวะทางเศรษฐกิจ การเมืองและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังศึกษาผลประกอบการ เช่น อัตราการเติบโตในอดีตเพื่อคาดคะเนแนวโน้มในอนาคต แล้วนำมาใช้ในการวิเคราะห์ประเมินราคากับหลักทรัพย์นั้นๆ ว่าควรจะมีราคาเท่าไหร่ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนี้มีรากฐานมากจากแนวความคิดที่ว่า “มูลค่าที่แท้จริง(intrinsic value)” โดยการวิเคราะห์ทางพื้นฐานนี้จะมีขั้นตอนวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน อยู่หลักๆ 3 ขั้นตอน
การวิเคราะห์เศรษฐกิจ (Economic Analysis)
การวิเคราะห์เศรษฐกิจดูผลกระทบต่อแต่ละอุตสาหกรรม พิจารณาภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้ม ในอนาคตว่าเป็นอย่างไรจะส่งผลต่ออุตสาหกรรม แต่ละประเภทอย่างไรบ้าง วิเคราะห์เศรษฐกิจโดยเป็นการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลก
การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis)
พิจารณาภาวะอุตสาหกรรมเพื่อดูว่าอุตสาหกรรมใดมีความน่าสนใจลงทุนบ้างในภาวะเศรษฐกิจนั้นๆ และอุตสาหกรรมที่สนใจอยู่ในวงจรชีวิตช่วงใด และมีการแข่งขันมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะตัดสินใจเลือกลงทุน วิเคราะห์อุตสาหกรรมเป็นการวิเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์จากสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม ตลอดจนอนาคตของอุตสาหกรรมว่าจะมีการเติบโตอย่างไร
การวิเคราะห์บริษัท (Company Analysis)
ค้นหาบริษัทที่น่าสนใจลงทุน พิจารณาว่าบริษัทใดน่าสนใจลงทุนโดยดูจากลักษณะและรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพในการทำกำไร ทีมผู้บริหารและบุคลากร รวมถึงผลประกอบการและสถานะ ทางการเงินของธุรกิจว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไรมีโอกาสที่การลงทุนจะสร้างผลกำไรหรือไม่ วิเคราะห์บริษัทเป็นตัวสุดท้ายในการวิเคราะห์ โดยจะเน้นวิเคราะห์ประเภทของบริษัทและประเภทของหลักทรัพย์ โดยจะวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ(Qualitative Analysis)และเชิงปริมาณ(Quantitative Analysis) การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental analysis) จะเหมาะกับการวิเคราะห์ระยะปานกลางหรือระยะยาว
ข้อดี VS ข้อเสีย การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
ข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
ข้อดีของการใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คือ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ทิศทางของกราฟได้ค่อนข้างที่จะมีความแม่นยำสูงมาก ซึ่งทำให้เราสามารถเปิดสัญญาของการเทรดได้ครบถ้วน และมีความปลอดภัย ลดอัตราการเสี่ยงที่เกิดจากการเปิดสัญญาที่ผิดที่ผิดทางได้
ข้อจำกัดของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
สำหรับข้อจำกัดของการใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คือ บางครั้งแล้วการวิเคราะห์ของเรานั้นอาจมีความผิดพลาด หรือมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ ทำให้เรานั้นอาจเปิดสัญญาที่ผิดพลาดและไม่ถูกต้องไป ดังนั้นหากคุณต้องใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานแล้ว ผู้เขียนคิดว่า การเลือกใช้หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค น่าจะมีประโยชน์ต่อการทำนายทิศทางของกราฟซึ่งส่งผลต่อแนวทางในการเทรดของคุณให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นด้วยนั่นเอง
ดังนั้นเพื่อให้กลยุทธ์ในการเทรดของคุณประสบความสำเร็จ การเลือกวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คืออีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญและสามารถช่วยให้คุณนั้น