อัพเดท!! มาตรการหั่นดอกเบี้ยเงินกู้ ของแต่ละธนาคาร ก้าวข้ามวิกฤติโควิด-19

2 Min Read

ผลกระทบจากโควิด-19 อีกทั้งการเมืองเศรษฐกิจ รุมเร้านานาประการ ทุกฝ่ายร่วมกันช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้คนไทยผ่านวิกฤตไปด้วยกัน ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ภายใต้สมาคมธนาคารไทย ได้ทำการเร่งช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านมาตรการและโครงการต่างๆ โดยสามารถเร่งช่วยลูกค้าไปแล้วเกือบ 14 ล้านราย ตัวอย่างเช่น

การปรับโครงสร้างหนี้ลูกค้าทุกกลุ่ม และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย อาทิ การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย การขยายเวลาการชำระหนี้ การลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ โดยสามารถเร่งช่วยลูกค้าไป 13.8 ล้านราย ยอดหนี้ 6.12 ล้านล้านบาท, การปล่อยสินเชื่อโครงการ บสย.SMEs สร้างไทย 1.4 หมื่นราย วงเงิน 3.4 หมื่นล้านบาท, มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ผ่านธออมสิน ช่วยลูกค้าแล้ว 5.5 หมื่นล้านบาท, ซอฟท์โลนของธนาคารแห่งประเทศไทย อนุมัติสินเชื่อแล้ว 49,804 ล้านบาท กว่า28,722 ราย

ZA.IN.TH จึงรวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ธนาคารขนาดใหญ่ ออกมาตรการหั่นดอกเบี้ยกู้ ตรึงเงินฝาก ขานรับกับ ตามมติ กนง. เพื่อเป็นการลดภาระต้นทุนให้กลุ่มลูกค้า ประชาชน สามารถฟื้นตัวของฐานะการเงิน จากทางด้านภาคประชาชน และภาคธุรกิจ แต่ยังคงดอกเบี้ยเงินฝากไว้ เพื่อช่วยลูกหนี้

ธนาคาร ธอส. ปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ธอส. ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.125% – 0.250% ต่อปีเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเกิดการฟื้นตัวและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)3 ประเภททั้ง  MLR MOR และ MRR ลดลงดังนี้

  • MLR ลดลง 0.125% เหลือ 5.750%
  • MOR ลดลง 0.250% เหลือ 5.900%
  • MRR ลดลง 0.125% เหลือ 6.150%

โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

ธนาคารกสิกรไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ย

  • MLR ลดลง 0.13% เหลือ 5.47%
  • MOR ลดลง 0.38% เหลือ 5.84%
  • MRR ลดลง 0.13% เหลือ 5.97%

โดยนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เพื่อช่วยประคับประคองสภาพคล่องและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้าของธนาคาร พร้อมสนับสนุนเศรษฐกิจให้ค่อย ๆ ฟื้นตัว มีผลตั้งแต่วันที่22พ.ค.นี้

ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย

  • MLR ลดลง 5.375% เหลือ 5.25%
  • MOR ลดลง 6.095 % เหลือ 5.845%
  • MRR ลดลง 6.345 % เหลือ 5.995 %

โดยนายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า จากมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มทยอยเข้าสู่ช่วงสภาวะปกติ เพื่อเร่งการฟื้นตัวของฐานะการเงินในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนให้กลับมาโดยเร็ว ธนาคารได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท เพื่อลดภาระต้นทุนดอกเบี้ยให้ลุกค้าอย่างเร่งด่วน ซึ่งปรับลดลงมากที่สุดในระบบธนาคาร มีผล 22 พ.ค.นี้

ธนาคารกรุงเทพ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย

โดยนายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ได้กล่าวว่า ธนาคารได้ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงทั้ง 3 ประเภททั้ง  MLR MOR และ MRR ลดลงดังนี้

  • MLR ลดลง 0.225% เหลือ 5.25%
  • MOR ลดลง 0.22% เหลือ 5.875%
  • MRR ลดลง 0.35% เหลือ 5.75%

โดยจะมีผล 21พ.ค.เป็นต้นไป

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ปรับลดอัตราดอกเบี้ย

โดยนายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ที่ผ่านมาธนาคารได้ลดดอกเบี้ยไปแล้ว 3 ครั้ง เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งครั้งนี้กรุงศรี ฯ โดยปรับลดดอกเบี้ย MLR  MOR  และ MRR ลดลงดังนี้

  • MLR ลดลง 5.83% เหลือ 5.58%
  • MOR ลดลง 6.30% เหลือ 5.95%
  • MRR ลดลง 6.30% เหลือ 6.05%

โดยมีผลตั้แต่ 21 พ.ค.เป็นต้นไป

ธนาคารกรุงไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ย

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR MOR  และ MRR ลดลงดังนี้

  • MLR ลดลง 0.125% เหลือ 5.25%
  • MOR ลดลง 0.40% เหลือ 5.82%
  • MRR ลดลง 0.125% เหลือ 6.22%

โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.2563 เป็นต้นไป

ธนาคารออมสิน ปรับลดดอกเบี้ย

ธนาคารออมสิน ลดดอกเบี้ยสอดคล้องทิศทางนโยบายดอกเบี้ยของ กนง. ร่วมบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 พร้อมดูแลลูกค้ารายย่อย ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.125-0.25% ธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR MOR  และ MRR ลดลงดังนี้

  • MLR ลดลง 0.125% เหลือ 6.150%
  • MOR ลดลง 0.250% เหลือ 5.995%
  • MRR ลดลง 0.125% เหลือ 6.245%

มีผลวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากไม่ปรับลดเพราะมุ่งส่งเสริมการออมต่อเนื่อง

ธนาคารทีเอ็มบีและธนชาต ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

  • MLR ลดลง 0.125%
  • MOR ลดลง 0.125%
  • MRR ลดลง 0.35%

การลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ นอกจากเป็นการลดดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทแล้ว ธนาคารได้มีการปรับลดดอกเบี้ย MRR ลงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางการเงินลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อยและลูกค้าสินเชื่อบ้านที่ต้องประสบปัญหาสภาพคล่องอันเนื่องจากเหตุการณ์ที่ยากลำบากในครั้งนี้ ให้ใช้ชีวิตและดำเนินธุรกิจต่อไปได้และเพื่อเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ช่วงของการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19

มีผลวันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่