“Sell in May and Go Away” ทิศทางการลงทุนของเดือน พฤษภาคม

1 Min Read

เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือน พฤษภาคม หลายคนก็จะได้ยินวลีที่ว่า “Sell in May and Go Away” เป็นช่วงที่นักลงทุนและนักวิเคราะห์ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านหลายช่องทาง เกี่ยวกับทิศทางการลงทุนในเดือนนี้ กล่าวกันว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ตลาดหุ้นเผชิญแรงขายในเดือนพฤษภาคม และมีแนวโน้มราคาที่ลดลง ซึ่งหากย้อนดูสถิติ 10 ย้อนหลังจะเห็นได้ชัดว่า ช่วงเดือน พฤษภาคมดัชนีตลาดหุ้นไทยนั้นปรับลดลงถึง 7 ปี จาก 10 ปี คิดเป็นร้อยละอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

สำหรับ Sell in May and Go Away ไม่ได้เกิดมาจากตลาดหุ้นไทย ทว่า จุดเริ่มต้นมาจากตลาดหุ้นต่างประเทศ ที่เป็นเหตุการณ์นักลงทุน “ขายหุ้นทำกำไร” ในช่วงเดือนพฤษภาคม จากนั้นจะรอให้ตลาด “ปรับฐาน” ลงถึงจุดต่ำสุด และโดยสถิติจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ จนกระทั่งเริ่มเห็นสัญญาณตลาดฟื้นตัว จึงค่อยเริ่มซื้อหุ้นอีกครั้ง มีการยกสถิติจากผลศึกษาข้อมูลดัชนีสำคัญทั่วโลก 15 ปีย้อนหลัง พบว่ามีความน่าจะเป็นประมาณ 50% ที่ตลาดหุ้นจะปรับลดลงในเดือนพฤษภาคม แต่จะเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นประเทศตะวันตก รวมถึงตลาดหุ้นขนาดใหญ่ในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย

ทีนี้ลองกลับไปดูบรรยากาศการลงทุนในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายน 2563 จะยังมีการเคลื่อนไหวผันผวน เป็นสาเหตุมาจากเพราะนักลงทุนเตรียมปรับตัวก่อนการเข้าสู่เดือนพฤษภาคมและตลาดหุ้นไทยมักเจอกับ “แรงขาย” ประกอบกับเป็นช่วงนักวิเคราะห์ทยอยปรับลดประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) และสภาพคล่องระยะสั้นเป็นลักษณะหดตัวมากกว่าภาวะปกติ นักลงทุนนิยามช่วงนี้ว่า Sell in May and go away เบื้องต้นประเมินกรอบการเคลื่อนไหวในเดือนพ.ค. มีแนวต้าน 1,300-1,320 จุด และแนวรับ 1,153-1,120 จุด

และในช่วงปีนี้ทั่วโลกและไทยเจอกับปัญหาโควิดโรคระบาดที่ยังเป็นการตอกย้ำให้เกิดเหตุการณ์ Sell in May อาจทำให้ซ้ำรอยกับในห้วงอดีตที่เดือนพฤษภาคมตลาดหุ้นไทยมักจะปรับตัวแรงเสมอ โดยยังมีปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย ที่มักเกิดขึ้นซ้ำส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์นี้อยู่เสมอ คือ
1. เดือนพฤษภาคมเป็นช่วงประกาศงบบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสแรก หากงบบริษัทจดทะเบียนออกต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ มีโอกาสที่จะถูก Sell on fact ได้ อีกทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคาดว่ากำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2563 น่าจะทำจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 ทำให้ตลาดหุ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 อาจไม่คึกคักมาก
2. เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่เม็ดเงินลงทุนต่างชาติมักไหลออกจากตลาดหุ้นมากสุดเฉลี่ยสูงถึง 1.65 หมื่นล้านบาท
และ 3. เนื่องจากเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยขึ้นเครื่องหมาย XD เกือบหมดแล้ว

เมื่อเจาะลึกเป็นรายอุตสาหกรรมของตลาดหุ้นไทย พบว่า กลุ่มที่มักปรับตัวลดลง คือ พลังงาน ปิโตรเคมี ท่องเที่ยว ขนส่ง ยานยนต์ และบันเทิง ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยด้านฤดูกาลที่เข้าสู่ Low Season ของธุรกิจดังกล่าว ดังนั้น คำว่า Sell in May จึงคงอยู่กับเดือนนี้ด้วยข้อมูลดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากการพิจารณาผลตอบแทนสะสมรายวันของดัชนีหุ้นไทยในเดือนพฤษภาคม 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2558 – 2562 พบว่าดัชนีหุ้นไทย ยังรักษาระดับได้ดีในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่มีวันหยุดมากโดยถ้ามี Sell in May เกิดขึ้นในปีใด ดัชนีหุ้นไทยจะอ่อนตัวลงตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ถ้ามองในเชิงกลยุทธ์เพื่อประกอบการวางแผนการลงทุนระยะสั้น แสดงว่าในช่วงต้นเดือนถือเป็นจังหวะ “ขาย” เพื่อลดความเสี่ยง แล้วไปรอ “ซื้อ” ในช่วงกลางเดือน

ก็เป็นแนวความคิดที่ ZA.IN.TH ได้สรุปและรวบรวมมาให้ผู้ลงทุนได้นำไปเป็นแนวทางในการศึกษากันต่อ อาจจะการขึ้นจากความบังเอิญในตลาดการลงทุน หรือมาจากผลกระทบของปัจจัยต่างๆ นั้นก็ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การลงทุนเป็นไปด้วยความราบรื่น ในช่วงปัญหารุมเร้าเช่นนี้

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่