วิธีการลงทุนให้เหมาะสม แต่ละช่วงวัย

1 Min Read

จะลงทุนอะไรดี ผลตอบแทนเท่าไร ความเสี่ยงประมาณไหน เป็นปัญหาที่หลายคนสงสัย ทำให้ไม่สามารถเลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสม วันนี้ ZA.IN.TH จะมาแนะนำแนวทางการลงทุนโดยคำนึงถึงช่วงอายุ เพราะในแต่ละช่วงชีวิตนั้นมีความแตกต่างการ การยอมรับความเสี่ยงแต่ช่วงก็จะแตกต่างกันไป จึงขอแบ่งการลงทุนและการบริหารเงินตามช่วงวัย โดยสินทรัพย์เพื่อการลงทุนแต่ละช่วงวัยจะยกมาเพียง 4 ประเภท เรียงลำดับจากความเสี่ยงสูงไปยังความเสี่ยงต่ำ

วัยเริ่มทำงาน

ช่วงอายุประมาณ 22 – 35 ปี วัยเริ่มทำงานของทุกๆ คน หรือหลังเรียนจบ ถือได้ว่าเป็นช่วงที่หากเริ่มลงทุนตั้งแต่ตอนนี้ก็จะมีเวลาในการลงทุนยาวนานที่สุด ทำให้สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงได้ จึงควรเน้นเรื่องของการออมและการลงทุน ข้อสำคัญ คือ ควรจะมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น รถยนต์ ให้ช้าที่สุด เพราะนอกจากต้องเสียดอกเบี้ยแล้วยังคงมีรายจ่ายต่างๆ ตามมา เช่น ค่าน้ำมัน ค่าประกัน ค่าซ่อมบำรุง เป็นต้น

วัยสร้างครอบครัว

ช่วงอายุ 36 – 45 ปี หรือช่วงวัยสร้างครอบครัว จะมีค่าใช้จ่ายหลากหลายเพิ่มมากขึ้น อาจมีหนี้สินทั้งการผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ทำให้การลงทุนก็ต้องลดระดับความเสี่ยงลง และเตรียมวางสำหรับ ประกันภัยหรือประกันชีวิต พอร์ตการลงทุนที่แนะนำคือ หุ้นหรือกองทุนรวมหุ้น 50% ตราสารหนี้หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ 40% สินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ 10%

วัยเตรียมเกษียณ

ในช่วงอายุ 46 – 60 ปี เป็นช่วงที่จะพอเห็นแล้วว่า เงินสำหรับใช้หลังเกษียณเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหนี้สินต่างๆ เช่น บ้าน ควรวางแผนชำระให้หมดก่อนเกษียณ พอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมจึงไม่ควรมีความเสี่ยงมากนัก เนื่องจากเมื่อถึงเวลาต้องใช้เงิน พอร์ตอาจจะอยู่ในช่วงที่ผลตอบแทนไม่ดี ทำให้ไม่พอใช้ พอร์ตการลงทุนที่แนะนำคือ หุ้นหรือกองทุนรวมหุ้น 30% ตราสารหนี้หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ 60% สินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ 10%

วัยหลังเกษียณ

อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป วัยเตรียมเกษียณ เป็นวัยที่ต้องวางแผนการใช้เงิน เพราะอาจจะเป็นเงินก้อนสุดท้าย ดังนั้น พอร์ตการลงทุนควรมีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องบางส่วนเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ผลตอบแทนในระยะยาวควรชนะเงินเฟ้อ ดังนั้น พอร์ตการลงทุนที่แนะนำ คือ หุ้นหรือกองทุนรวมหุ้น 10% ตราสารหนี้หรือกองทุนรวม ตราสารหนี้ 60% เงินฝากหรือกองทุนรวมตลาดเงิน 30%

ค่าใช้จ่ายของทุกวัยที่วางแผนได้ยากนั้น คือ ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล โดยถ้าเป็นมนุษย์เงินเดือน อาจจะมีสวัสดิการของที่ทำงาน แต่ในวัยหลังเกษียณอาจจะเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ทำให้กระทบกับแผนการเงิน

ดังนั้น แผนปกป้องความเสี่ยงหรือแผนประกันจึงเป็นสิ่งที่ควรจะคำนึงถึง และการออกกำลังกายก็จะช่วยลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้ ทั้งนี้ ขอหมายเหตุเล็กๆ ว่าในกรณีหุ้นนั้น กองทุนรวมหุ้นจะช่วยให้กระจายการลงทุนได้มากกว่า และอาจจะแบ่งเงินบางส่วนลงทุนในกองทุนรวมที่ให้สิทธิทางภาษีได้ด้วย โดยคำแนะนำในการจัดพอร์ตนี้เป็นการแนะนำอย่างกว้างๆ เพราะบางท่านอาจรับความเสี่ยงได้สูงหรือต่ำกว่าคนในช่วงวัยเดียวกัน ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ในการลงทุน

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่