รีไฟแนนซ์บ้าน แนวทางสู่การปลดหนี้บ้านให้หมดเร็ว

1 Min Read

วันนี้ ZA.IN.TH จะมาแนะนำการรีไฟแนนซ์บ้าน หรือการขอกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารครั้งใหม่ เพื่อนำไปชำระคืนเงินกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยก้อนเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบันกับธนาคาร สามารถทำได้กับที่อยู่อาศัยทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียม ซึ่งผู้ขอกู้สินเชื่อจะได้รับประโยชน์ที่ดีกว่าจากเงินสินเชื่อก้อนใหม่ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง เงื่อนไขการผ่อนชำระที่ดีกว่าเดิม เป็นต้น

ในช่วง 3 ปีแรกธนาคารจะมีโปรโมชั่นสินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ แต่หลังจากปีที่ 4 เป็นต้นไป จะคิดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (ลอยตัว) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นสูงกว่าในช่วง 3 ปีแรกของการผ่อนชำระ เช่น ช่วง 3 ปีแรก ผู้กู้จ่ายเงินผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท อาจมีอัตราดอกเบี้ย 3.0% แต่หลังจากปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยถูกปรับขึ้นเป็น 5.5% หมายความว่าเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน 10,000 บาทเท่าเดิม จะถูกหักเป็นดอกเบี้ยมากขึ้น เหลือเงินที่ไปหักเงินต้นน้อยลง ส่งผลให้เงินต้นลดช้าลง

1. เตรียมค่าใช้จ่ายต่างๆ การดำเนินการรีไฟแนนซ์บ้าน

ต้องตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนที่จะทำรีไฟแนนซ์บ้านว่ามีค่าใช้จ่ายส่วนใดบ้างที่ต้องเสีย เช่น ค่าปรับกรณีรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด ค่าธรรมเนียมในการจดจำนอง ค่าธรรมเนียมในการขอสินเชื่อสัญญาฉบับใหม่ ค่าประกันอัคคีภัย ค่าประเมินราคาของหลักประกัน ค่าอากรแสตมป์ เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆ นี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร

2. ศึกษาเงื่อนไขและดอกเบี้ย

การกู้ยืมสินเชื่อที่อยู่อาศัยของทุกธนาคาร มักจะมีโปรโมชั่นคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเพียง 3 ปีแรก แต่ต้องดูเงื่อนไขต่างๆ ประกอบด้วย เช่น บางธนาคารอาจมีระบุข้อกำหนด อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ ระยะเวลาในการผ่อนชำระขั้นต่ำ จำนวนเงินต่องวดที่ใช้ผ่อน การรีไฟแนนซ์ทุกครั้งจะต้องมีค่าใช้จ่าย ดังนั้น การดูแต่เพียงว่าอัตราดอกเบี้ยใหม่ถูกกว่าจึงไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องคำนวณด้วยว่าส่วนที่ประหยัดจากดอกเบี้ยที่ลดลง 3 ปี คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรีไฟแนนซ์หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เงินต้นเหลือน้อยๆ ก็อาจจะไม่คุ้มกับดอกเบี้ยที่ประหยัดก็ได้

ปัจจุบันนอกจากการรีไฟแนนซ์ ยังมีอีกหนึ่งทางเลือก คือ การขอลดดอกเบี้ย (Retention) กับธนาคารเดิม ซึ่งเป็นทางเลือกที่สะดวกรวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่ต้องเสียเวลาไปรีไฟแนนซ์กับธนาคารแห่งใหม่ แต่การขอลดดอกเบี้ยต้องผ่อนชำระมาแล้วเกิน 3 ปี  การขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม แทบทุกที่จะปฎิเสธเหมือนกันว่าทำให้ไม่ได้ นี่คือดอกเบี้ยที่ดีที่สุด และเหตุผลอีกมากมายที่ไม่อยากลดดอกเบี้ยลงมา เมื่อเจอเหตุผลแบบนี้แนะนำให้ตอบคำเดียวไปเลยว่า “ถ้าอย่างนั้นจะไปทำการรีไฟแนนซ์กับเจ้าอื่น” หากธนาคารต้องการรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ ก็จะทำการปรับลดดอกเบี้ยให้

กระบวนการในการขอลดดอกเบี้ย

Θ  เข้าไปติดต่อกับธนาคาร โดยให้ไปสาขาที่ยื่นขอสินเชื่อเอาไว้ เพราะมีข้อมูลเอกสารทุกอย่างครบ แจ้งว่าต้องการขอลดดอกเบี้ย โดยระบุเหตุผลไปว่าตนเองคือลูกค้าชั้นดี ชำระตรงเวลา ไม่มีประวัติเสียใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งผ่อนชำระมาครบ 3 ปีเรียบร้อยแล้ว
Θ  หากยังไม่อนุมัติลดดอกเบี้ย แนะนำให้ทำเรื่องรีไฟแนนซ์กับธนาคาร พร้อมแจ้งว่าได้หาข้อมูลการรีไฟแนนซ์จากธนาคารอื่นมาแล้วหลายแห่งซึ่งดอกเบี้ยถูกกว่า หากมีผลพิจารณาอนุมัติมาแล้วจะช่วยยืนยันได้มากขึ้น
Θ  หากธนาคารยินยอมที่จะปรับลดดอกเบี้ยให้ แม้จะไม่ได้ส่วนลดดอกเบี้ยมากเท่ากับการรีไฟแนนซ์ แต่หากพิจารณาจากดอกเบี้ยที่ลดลงแล้วคุ้มค่า แลกกับการไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการรีจ่ายเรื่องที่จำเป็นอื่นๆ การวางแผนจัดการการเงินที่ดี ช่วยทำให้มีเงินเหลือในกระเป๋ามากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่