HANA : บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) ในตลาด SET กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี หมวดธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ราคาพาร์ 1 บาท ทุนจดทะเบียน 974,403,900 บาท ลักษณะธุรกิจ ให้บริการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์แบบครบวงจร (Electronic Manufacturing Service-EMS)
รากฐานสำหรับสำหรับเศรษฐกิจกระแสใหม่ เนื่องจากบริษัทเป็นผู้บริการการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (EMS) ที่แข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นับเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของธุรกิจในเศรษฐกิจกระแสใหม่ (New economy) อาทิ นวัตกรรม, เทคโนโลยี และดิจิตอล ซึ่งเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยธุรกิจหลักของบริษัทประกอบด้วยการผลิตและประกอบผลิตภัณฑ์ PBBA, IC และ icrodisplay โดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้ในปี2019 ที่ 59%, 37% และ 4% ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่นอุปกรณ์สื่อสารสมาร์ทโฟน แล็ปท็อป เซ็นเซอร์และ อุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยตลาดอิเล็กทรอนิกส์นั้นเติบโตอย่างรวดเร็วจากการลงทุนในขยาย กำลังการผลิต และเจาะตลาดของผู้ประกอบการธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานผลิตที่ทันสมัยหกแห่งทั้งในประเทศไทย จีน สหรัฐฯ และ กัมพูชา ด้วยพื้นที่การผลิตรวมกว่า 1.1ล้านตารางฟุต ประกอบกับมาตรฐานคุณภาพการผลิตที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลเช่น ISO9001, ISO / TS 16949, ISO 13485, ISO 14001, ISO 45001 และ TIS 18001
คาด COVID-19 ส่งผลกระทบในระยะสั้น ราคาหุ้นของบริษัทที่ปรับตัวลง 21% นับแต่ต้นปีด้วยความกังวลเกี่ยวกับการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน จากการระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุน เรามองว่าปัญหาการแพร่ ระบาดเป็นเรื่องชั่วคราวและคลี่คลายภายในปี20E โดยเราได้ให้น้ำหนักไปยังประกอบการของบริษัทใน 21E โดยในปัจจุบันราคาหุ้นของบริษัทปรับตัวลงมาซื้อขายค่อนข้างถูกที่ 27.25 บาท เพียง 11.5xPE’21E, 4.4x EV/EBITDA’21E และ 1.0x PBV’21E นอกจากนี้บริษัทยังมีงบดุลที่แข็งแกร่ง ด้วยเงินสดสุทธิ8.5พันล้านบาทในปี2019 ซึ่งคิดเป็น 35% ของสินทรัพย์ทั้งหมด หรือคิดเป็น 39% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ของบริษัทหากอ้างอิงการประเมินแบบตัดเงินสด (Cash-adjusted) บริษัทจะมีมูลค่าสุทธิอยู่ที่ 1.34หมื่นล้านบาท หรือ 6.8xPE’21E ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของงบดุลของบริษัทที่ศักยภาพและสามารถอยู่ รอดได้ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 และถึงแม้ว่าผลประกอบการของบริษัทอาจจะได้รับผลกระทบในช่วง 2Q20-3Q20E แต่คาดว่าจะกระทบสถานะทางการเงินของบริษัทไม่มาก ด้วยบริษัทมีเงินสดอยู่ 9 พันล้านบาท ซึ่งสามารถรองรับค่าใช้จ่ายต่างๆได้ราว 1.2พันล้านบาทต่อไตรมาส ได้อย่างไม่ลำบาก
เทคโนโลยี 5 G หรือ 5th Generation คือระบบการสื่อสารแบบไร้ สายในยุคที่ 5 ซึ่งมีความสามารถในการส่งข้อมูลในปริมาณที่มากขึ้นหลายเท่าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีรุ่นก่อนหน้า โดยขนาดตลาดบริการ 5G ทั่วโลกที่คาดว่าจะสูงถึง 4.57 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐใน 2020 และผู้ใช้บริการที่เติบโตถึง CAGR of 32.1% ในช่วง 2021-25E จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการประสิทธิภาพ อุปกรณ์ โดยเราเชื่อว่าแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการใช้ระบบ 5G จะช่วยผลักดันความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากภูมิภาคในนี้มีผู้ที่ผลิตและผู้ใช้บริการอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ 5G อยุ่เป็นจำนวนมาก และเมื่อดูถึงผู้พัฒนาระบบ 5G ทั่วโลกแล้วจะพบว่าครึ่งหนึ่งของตลาดถูกเป็นบริษัทจากเอเชีย ได้แก่ Huawei และ ZTE จากประเทศจีน และSamsung จากเกาหลีใต้และอีกครึ่งหนึ่งคือบริษัท Ericsson และ Nokia จากยุโรป ในขณะเดียวกันเริ่มมีผู้ใช้บริการระบบ 5G ที่นำโดยประเทศในเอเชีย (เกาหลีญี่ปุ่น และจีน) ซึ่งคาดว่าใน 2025 E จะมีสัดส่วนผู้ใช้บริการระบบ 5G ราว 35-65% จากผู้ใช้ทั้งหมดหากเทียบกับประเทศในภูมิภาคตะวันตกที่ราว 30-50% และทั่วโลกที่ 18%
บริษัทรายงานกำไรสุทธิปี2019 ที่ 1.8พันล้านบาท (-24%YoY) ซึ่งยังเป็นแนวโน้มขาลงอย่างต่อเนื่อง จากจุดสูงสุดที่ 3.4พันล้านบาทในปี 2014 โดยรายได้ที่ลดลงสู่ 2.4พันล้านบาท (-8%YoY) จากความอ่อนแอของภาวะตลาดท่ามกลางการชะลอตัวในวงจรเซมิคอนดักเตอร์ ประกอบกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ในขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นหดตัวสู่ 12.8% (-3.0ppts YoY) ผลจากรายได้ที่ลดลงและค่าเงินบาทที่แข็งค่า โดยค่าเฉลี่ยอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี2019 อยู่ที่ 31.05บาท แข็งค่าขึ้น4%YoY เมื่อเทียบกับที่ 32.31บาท ใน2018