ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประกอบการภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งทางตรง และทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็น สงครามการค้า ภัยแล้ง น้ำท่วม ราคาผลผลิตตกต่ำ และการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบด้วย
๐ ขยายระยะเวลาชำระหนี้
๐ ลดอัตราดอกเบี้ย
๐ ปลอดชำระต้นเงินใน 3 ปีแรก
๐ พร้อมเติมสินเชื่อใหม่โดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจ
เป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 – 31 ธ.ค. 2564 ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา หรือที่ Call Center 02 555 0555 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
มาตรการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า (COVID-19)
“ให้สินเชื่อฉุกเฉิน” วงเงินสูงสุด 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน ระยะเวลาผ่อนชำระคืนสูงสุด 2 ปี ปลอดชำระเงินงวด 6 งวดแรก โดยเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาผ่อนชำระคืนแล้วต้องไม่เกิน 70 ปี ไม่ต้องใช้หลักประกัน
ลดดอกเบี้ยเงินกู้
ธ.ก.ส. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับเกษตรกรลูกค้ารายย่อยและบุคคลทั่วไป MRR จากเดิมที่ร้อยละ 6.750 ต่อปี ลดลง% 0.125 เหลือ 6.625% ต่อปี
ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธ.ก.ส. ปรับลดเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ และเงินฝากประจำ สำหรับบุคคล นิติบุคคล ราชการและรัฐวิสาหกิจ ลดลง 0.05-0.35% ต่อปี ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศของธนาคาร โดยมีผลตั้งแต่ 1 เม.ย.2563 เป็นต้นไป
มาตรการช่วยเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง
เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง ขยายเวลาชำระหนี้เดิมออกไป 2 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564
โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง
ปี 2563 วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท เกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งสามารถกู้เพื่อลงทุนได้รายละไม่เกิน 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก 0% ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-2% (ปัจจุบัน MRR= 6.875%) กำหนดชำระคืนไม่เกิน 10 ปี สนับสนุนสินเชื่อตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 ธันวาคม 2563