การที่เราจะเริ่มเป็นหนี้ซักก้อนหนึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ และเข้าใจนั่นก็คือ “ดอกเบี้ย” ซึ่งอาจทำให้ใครหลายคนอาจจะต้องสับสน และงวยงงกับหลักการคำนวณดอกเบี้ย บางคนก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรเพราะมันจ่ายรวมๆ ไปกับหนี้ที่ต้องชำระแต่ละงวดอยู่แล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ ดอกเบี้ยเงินกู้เป็นสิ่งที่เราควรทำความเข้าใจอย่างดีก่อนจะตัดสินใจกู้เงิน เพราะดอกเบี้ยเงินกู้เป็นกำไรของผู้ให้กู้ที่ได้มาจากเรา
กระบวนการในการที่คิดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีก็คือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) และ อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate)
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขเฉพาะ ไม่ขึ้นหรือลงตามต้นทุนของสถาบันการเงิน คงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้หรือในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น กำหนดให้ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี เป็นเวลา 4 ปี คุณก็จะเสียอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเดิมเท่ากันตลอดทั้ง 4 ปี
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินจะประกาศออกมาเป็นครั้ง ๆ ไป โดยมักจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามเศรษฐกิจนั่นเอง โดยปัจจัยที่สถาบันการเงินใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้จากลูกค้า มักจะมีลักษณะของอัตราดอกเบี้ยแบบ MLR MOR และ MRR
– MLR (Minimum Loan Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Term Loan) เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ เป็นต้น
– MOR (Minimum Overdraft Rate) เป็นตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
– MRR (Minimum Retail Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น
ตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวของธนาคารต่างๆ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารกรุงไทย