PRM : บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) ธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ วันที่เริ่มต้นซื้อขาย 14 ก.ย. 2560 ราคาพาร์ 1 บาท ทุนจดทะเบียน 2,500,000,000 บาท จำนวนหุ้นจดทะเบียนกับตลท. 2,500,000,000 หุ้น ลักษณะธุรกิจกลุ่มบริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริหารขนส่งและจัดเก็บน้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์น้ำมันกึ่งสำเร็จรูปและปิโตรเคมีเหลวทางเรือ ให้กับลูกค้าตามความต้องการอย่างครบวงจร โดยแบ่งเป็น 4 หมวดธุรกิจ ดังนี้ 1. ธุรกิจเรือขนส่งน้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์น้ำมันกึ่งสำเร็จรูป และปิโตรเคมีเหลว (ธุรกิจเรือขนส่งฯ) 2. ธุรกิจเรือขนส่งและจัดเก็บน้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป (Floating Storage Unit) (ธุรกิจเรือขนส่งและจัดเก็บ FSU) 3. ธุรกิจเรือขนส่งที่ให้การสนับสนุนงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกลางทะเล (ธุรกิจเรือ Offshore) 4. ธุรกิจบริหารจัดการเรือ (ธุรกิจบริหารเรือ)
ไม่อ่อนแอเหมือนเรือสินค้ำแห้งเทกองปีนี้กำไรโตต่อ อัตรากำไรขยายตัวประมาณการปีนี้ของเรา ยังสอดคล้องกับเป้ารายได้เติบโต 20-25% ของบริษัท ซึ่งบริษัทยืนยันว่าเป็นผู้ได้ประโยชน์สุทธิจากสถานะการณ์ผันผวนของราคาน้ำมันดิบขณะนี้ โดยเฉพาะกลุ่มเรือ FSU ซึ่งปัจจุบันได้ประโยชน์อย่างมากจากอุปสงค์กักเก็บน้ำมันน้ำมันกำมะถันต่ำตามเกณฑ์ IMO2020 อยู่แล้ว จนบริษัทมีแนวโน้มต้องปรับราคาให้บริการขึ้นอีกด้วย ซึ่งแม้เราต้องปรับราคาเหมาะสม DCF ลงเนื่องจากพารามิเตอร์ทางการเงินเปลี่ยนไปมากแต่ upside ยังคงสูงมากพอ 164%
ผู้บริหารยืนยันเป้าการเติบโตดังกล่าวจากแผนการขยายกองเรือต่อเนื่องอีกสุทธิประมาณ 3 ลำเป็น 46 ลำสุทธิและกองเรือทั้งหมด 43 ลำ จะเน้นจัดการให้เต็มอัตราใช้งานตลอดปี 2563 รวมถึงกลุ่มเรือ FSU สัดส่วน 52% ของกำไรขั้นต้นรวม ยังคงมีอุปสงค์มากกว่าอุปทานผลักดันจากเกณฑ์ IMO2020 ทำให้บริษัทมีแผนจะปรับราคาให้บริการขึ้นอีกด้วย ส่วนประเด็นความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ยิ่งทำให้ความต้องการแหล่งกักเก็บน้ำมันเพิ่มขึ้นทั่วโลกในทุกแพลตฟอร์ม ขณะที่ปัญหาภาคท่องเที่ยวของไทย กดดันต่อปริมาณความต้องการใช้น้ำมันอากาศยานในภาคใต้บ้าง แต่ในภาพรวมคาดกระทบรายได้รวมไม่เกิน 5% ดังนั้นจะเห็นว่า อุตสาหกรรมเรือ tanker (อิงปริมาณบริโภคน้ำมันปิโตรเคมี) ยังคงดูดีกว่าเรือ Dry shipping (อิง BDI สินค้าเกษตรถ่านหิน ปูนซีเมนต์) ที่ต้องลุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างมาก
ปริมาณการใช้น้ำมันในภาคใต้จะมีผลต่อรายได้ของเรือกลุ่ม Domestic Tanker ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ราว 44% ของรายได้รวม โดยบริษัทเผยว่าผลของ COVID-19 เริ่มส่งผลต่อปริมาณบริโภคน้ำมันอากาศยานลงราว 10% (1/3 ของปริมาณขนส่งของ Domestic Tanker)