แน่นอนว่าทุกคนจะคิดถึงภาพของคนที่มีอิสรภาพการเงิน มีสิทธิและโอกาสใช้เงินตามใจปราถนา แต่เคยสังเกตหรือไม่ว่า ถ้าหากเรเองจะเกษียณ เราจะต้องวางแผนเกษียณอย่างไร ใช้เงินเท่าไร และมีอะไรจะต้องระวังบ้าง สำหรับบางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว อีกนานกว่าจะเกษียณ หรือไม่ก็อยากทำงานไปเรื่อย ๆ จนกว่าไม่มีแรงทำงาน ค่อยหยุดทำงาน แต่อย่าลืมไปนะคะว่า ยิ่งเราอายุมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่าสุขภาพร่างกายของเราจะแข็งแรง มีแรงทำงานเหมือนปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ สัดส่วนคนสูงอายุจะมีมากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มคนวัยทำงาน และคนเราจะมีอายุยืนขึ้น สวัสดิการภาครัฐไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายต่างๆจะเพิ่มสูงขึ้น เราต้องหันมาให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินเพื่อเกษียณอายุ
การเกษียณ หมายถึง การหยุดการทำงานประจำ หรือการที่จะไม่มีรายได้หลักต่อไป แต่เราก็ยังคงต้องมีค่าใช้จ่าย มากขึ้น วันนี้ ZA.IN.TH จึง สรุปแนวความคิดวิธีการวางแผนเกษียณ เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ได้จริงด้วย 5 ขั้นตอนกัน
1. สำรวจตัวเอง รายได้ของเราในทุกวันนี้ มีความมั่นคงมากน้อยเพียงใด อาชีพที่ทำ แหล่งรายได้ที่มี สามารถทำต่อไปได้จนถึงอนาคตได้หรือไม่
2. สำรวจแหล่งเงินได้หลังเกษียณ จะต้องพิจารณาว่าเมื่อเราเกษียณแล้วเราจะได้รับเงินจากทางใดได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.), รายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ เงินปันผล เป็นต้น ทั้งหมดจะรวมเป็นยอดเงินเท่าไร
3. วางแผนเป้าหมายค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ วางแผนเพื่อตั้งเป้าหมาย อยากจะเกษียณตอนอายุเท่าไหร่ ต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณประมาณเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่เราควรต้องเตรียมไว้ เช่น
มีเป้าหมายที่ต้องการจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี คาดว่าจะมีอายุขัย 90 ปี อายุหลังเกษียณเป็นระยะเวลา 30 ปี และอยากจะมีเงินใช้เดือนละ 30,000 บาท หรือราวๆ 360,000 บาทต่อปี หมายความว่าควรมีเงิน 10,800,000 บาทตอนอายุ 60 ปี ด้วยจำนวนเงินที่มากเป็นเหตุผลให้ต่อเริ่มออมให้เร็วที่สุด แผนการออม การลงทุนในการบรรลุเป้าหมายเงินออมจำนวน 10,800,000 บาท สมมุติในเวลา 25 ปี ในอัตราดอกเบี้ยต่อปีที่ 8% แต่ละเดือนคุณต้องลงทุนเป็นจำนวน 12,311 บาท
4. ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ คือทำตามแผนที่ได้วางไว้ โดยการคัดเลือกกองทุนรวม หรือ หุ้น ที่เราต้องการออม ซึ่งมีหลายกองทุนที่ผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ย 8% ขึ้นไป
5. ทบทวน ประเมินผล อย่างน้อยทุก 6 เดือน ว่าแผนการลงทุน รายได้ผลกำไร เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนต้องปรับเปลี่ยนแผนที่ได้วางไว้ กองทุนรวม หรือ หุ้นที่เราลงทุนไป มีแนวโน้ม นโยบายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ต้องติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจธุรกิจเกี่ยวกับการเงินกันด้ว