AOT ประกาศมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในสนามบินทั้ง 6 แห่ง ซึ่งรวมถึงการยกเว้นประกันขั้นต่ำสำหรับสัญญาสัมปทาน (minimum guarantee) โดย AOT จะเก็บค่าธรรมเนียมตามเกณฑ์การแบ่งรายได้ (revenue sharing) เท่านั้น ระยะเวลาสองปี ส่งผลให้หากไม่มี minimum guarantee รายได้สัมปทานจะมีความเสี่ยงตามการชะลอตัวของผู้โดยสารในช่วงการระบาดของ COVID-19 มีบทวิเคราะห์ประจำวันที่ 20 ก.พ.63 พูดถึง AOT
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง มองว่าณ์กำไรหลักปี 63-65 ลง 21% -36% สะท้อนปริมาณผู้โดยสารที่ลดลงในปี 2563 หลังการระบาดของ COVID-19 และรวมมาตรการต่าง ๆ คาดว่าผู้โดยสารจะลดลง 10% ใน ปี 2563 รายได้คาดจะลดลง 6% ในปี 2563 โดยรายได้จากสัมปทานจะลดลง 5% ในปี 2563 จะมาฟื้นตัวในปี 2564 พร้อมกับการฟื้นตัวของปริมาณผู้โดยสาร รายได้สัมปทานจะเริ่มเพิ่มขึ้นในปี 2565 เป็น 41% ความกังวลว่า AOT อาจยกเลิก minimum guarantee อีกเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นในอนาคต ส่งผลให้รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน (non-aero) มีความไม่แน่นอน การเติบโตของกำไรที่เป็นรูปธรรมจะล่าช้าไปถึงปี 2565 นอกจากนี้อัตรากำไรขั้นต้นของ AOT คาดถูกกดดันจากเทอร์มินอลใหม่ของสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งมีกำหนดเปิดในปลายปีนี้
บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ มองราคาหุ้นสะท้อนความเสี่ยงไปมาก ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 63 – 64 ลง 25% และ 9% จากประมาณการเดิม เพื่อสะท้อนความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 คาดว่าความเสี่ยงอาจจะยาวถึงปลายปี 2563 แนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการภายในท่าอากาศยานของ AOT จะกระทบรายได้สัมปทาน แนวโน้มกำไรปกติรายไตรมาสจะยังคงลดลงในช่วง 2Q63 และ 3Q63 เชื่อว่ามีโอกาสกลับมาทบทวนประมาณการอีกครั้ง หากสถาณการณ์คลี่คลายเร็วกว่าคาด ราคาหุ้นที่ลดลงเป็นจังหวะที่ดีต่อการเข้าลงทุน มีโอกาสกลับมาปรับเพิ่มประมาณการกำไรปกติปี 2563 – 2564 อีกครั้งหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 กลับมาเร็วกว่าที่เราคาด (สมมติฐานกรณีแย่สุด เราคาดว่าการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 จะสิ้นสุด ณ สิ้นปี 2563) และทำให้แนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการภายในท่าอากาศยานของ AOT จะยกเลิกเร็วกกว่ากำหนด ซึ่งจะทำให้รายได้รวมไม่กระทบมากอย่างที่เราประเมินไว้ข้างต้น
AOT : บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ลักษณะธุรกิจ ทอท.ประกอบธุรกิจท่าอากาศยานของประเทศไทย โดยธุรกิจหลักประกอบด้วย การจัดการ การดำเนินงาน และการพัฒนาท่าอากาศยาน โดยมีท่าอากาศยานในความรับผิดชอบ 6 แห่ง คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ซึ่งท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งนี้ ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ