หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond) อยู่ที่ว่าเป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทผู้ที่ทำการซื้อตราสารหนี้นั้นจะทำหน้าที่เป็นเจ้าหนี้โดยนำเงินมาให้กับบริษัทที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพโดยจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการลงทุนตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ในหุ้นกู้แปลงสภาพ (convertible Bond) แล้วก็เปลี่ยนจากหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญเปลี่ยนจากเจ้าหนี้กลายเป็นเจ้าของโดยใช้เงินต้นที่ยืมซื้อหุ้นด้วยราคาที่กำหนดในสัญญาไม่คำนึงถึงราคาของตลาด
ข้อได้เปรียบของหุ้นกู้แปลงสภาพคือหากราคาหุ้นในตลาดสูงกว่าราคาการแปลงสภาพนักลงทุนสามารถใช้สิทธิ์แปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญและได้กำไรจากส่วนต่างเมื่อขายหุ้นนั้น
ในทางกลับกันหากราคาหุ้นในตลาดยังต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้ในแปลงสภาพ หากขายก็จะทำให้ขาดทุนจากราคาส่วนต่างควรที่จะอยู่เฉยๆเพื่อรับดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ต่อไปโดยไม่แปลงสภาพ
ตัวอย่างการพิจารณาการแปลงสภาพหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพของบริษัท AAA ที่นักลงทุนมีอยู่ราคาหน้าตั๋วอยู่ที่ 1,000 บาท ราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ 50 บาทต่อหุ้น มีกำหนดการแปลงสภาพ จะต้องเลือกว่าจะแปลงสภาพหรือไหม คำนึงตามทางเลือกดังนี้คือ
– ถ้าราคาหุ้นบริษัท AAA สูงกว่า 50 บาทต่อหุ้น แปลงสภาพแล้วขายในตลาด ก็จะทำให้มีกำไรยิ่งสูงกว่าราคาหุ้น 50 บาทเท่าก็จะยิ่งได้กำไรเท่านั้น
– ถ้าราคาหุ้นบริษัท AAA ต่ำกว่า 50 บาทต่อหุ้น แปลงสภาพแล้วขายในตลาด ก็จะทำให้มีขาดทุน ถือต่อไปดีกว่าไม่ต้องแปลงสภาพ
หุ้นกู้แปลงสภาพมักจะได้รับความนิยมจากนักลงทุนในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ และตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นทั้งนี้เนื่องจากนักลงทุนมีโอกาสได้รับ capital gain จากการแปลงสภาพเป็นหุ้น ทำให้ผลตอบแทนโดยรวมสูงกว่าหุ้นกู้ปกติ นักลงทุนจึงยอมรับอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (คูปอง) ที่ค่อนข้างต่ำของหุ้นกู้แปลงสภาพ ในแง่ของบริษัทผู้ออก การออกหุ้นกู้แปลงสภาพมีประโยชน์ในหลายกรณีเช่น ต้นทุนการจ่ายดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการออกตราสารหนี้แบบทั่วไป ทำให้บริษัทมีต้นทุนการกู้เงินที่ต่ำลง แต่ทั้งนี้บริษัทผู้ออกมักจะกำหนดราคาใช้สิทธิแปลงสภาพไว้ค่อนข้างสูงกว่าราคาหุ้นในตอนที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพราว 25-45% เผื่อว่าในอนาคตราคาหุ้นของบริษัทวิ่งขึ้นไปสูงแล้วมีการใช้สิทธิแปลงสภาพ บริษัทผู้ออกจะได้ไม่เสียโอกาสในการออกหุ้นเพิ่มทุนในราคาที่ต่ำจนเกินไป หากออกหุ้นเพิ่มทุนมาทดแทนหุ้นกู้ที่ถืออยู่เดิม บริษัทผู้ออกก็ไม่ต้องมีภาระในการหาเงินเพื่อมาไถ่ถอนหุ้นกู้คืนนอกจากนี้บริษัทผู้ออกยังสามารถชะลอ Dilution effect เมื่อเทียบกับการออกหุ้นเพิ่มทุนในทันที
หุ้นกู้แปลงสภาพไม่ใช่หุ้นกู้ประเภทใหม่ที่เพิ่งมีการออก จริงๆ แล้วในอดีตที่ผ่านมามีการออกหุ้นกู้แปลงสภาพกันมาก โดยเฉพาะในช่วงก่อนวิกฤตปี2540 ที่ตลาดหุ้นคึกคัก มีบริษัทไทยที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพหลายบริษัท เช่น TASCO, IEC, SCB เป็นต้น แต่ภายหลังจากวิกฤติปี 2540 ตราสารหนี้แปลงสภาพก็ได้ลดความนิยมลงมากจนกระทั่งปี 2560 ที่ตลาดหุ้นคงความร้อนแรงต่อเนื่องมาหลายปีติดต่อกัน ก็เริ่มมีหลายบริษัทหันมาออกหุ้นกู้แปลงสภาพกันแล้ว ได้แก่ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ที่ออกตราสารหนี้แปลงสภาพมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาทขายในประเทศสิงค์โปร์ และบริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)ออกหุ้นกู้แปลงสภาพมูลค่า 3,500 ล้านบาทปัจจุบันราคาหุ้นของ SPI อยู่ที่ 68 บาท (ณ วันที่ 16 ต.ค.60) ซึ่งสูงกว่าราคาใช้สิทธิแปลงสภาพที่ 45 บาทไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ราคาหุ้นกู้แปลงสภาพของ SPI ปรับสูงขึ้นตามไปด้วยเพื่อสะท้อนกำไรที่คาดว่าจะได้รับเมื่อถึงกำหนดการใช้สิทธิแปลงสภาพของนักลงทุน