วิธีดูหุ้นพื้นฐานดี Howto ส่องงบการเงิน ส่องอัตราส่วน

1 Min Read

หลายคนอยากลงทุนหุ้นพื้นฐานดี แต่ไม่รู้จะหาหุ้น หรือดูศึกษาหุ้นตัวไหนดี ซึ่งการวิธีวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานหลักการวิเคราะห์หุ้นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ การวิเคราะห์หุ้นจากบนลงล่าง (Top Down) คือ มองจากภาพใหญ่ มหภาค เศรษฐกิจ GDP > มองต่อไปยังราย Sector > และโฟกัสไปที่หุ้นรายตัว, การวิเคราะห์หุ้นจากล่างขึ้นบน (Bottom Up) คือ ใช้เครื่องไม้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์หุ้นรายตัว > วิเคราะห์ Sector > วิเคราะห์เศรษฐกิจ

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำหลักในการเลือกหุ้นที่คัดจากพื้นฐานว่านักลงทุนจะต้องดูงบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงินอะไรบ้างแบบสั้นๆเข้าใจง่าย

1. Revenue Growth Rate (%) อัตราการเติบโตของรายได้ อัตราการเติบโตของรายได้ที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการ ควรพิจารณาจากรายได้หลักของกิจการมากกว่ารายได้รวม อย่างน้อยควรเป็นบวกและโตต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่มีข้อควรระวัง!! สำหรับใครที่โฟกัสแต่กำไรต่อหุ้น (EPS) ในบรรทัดสุดท้ายของงบการเงินเพียงอย่างเดียวนั้น ในบางครั้งกำไรต่อหุ้น (EPS) โตขึ้นมากกว่าปีที่แล้วจริง แต่พอมองไปยังรายได้ที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการดันไม่โตตาม แบบนี้ไม่ดีนะ เพราะกำไรนั้นอาจจะมาจากรายได้พิเศษที่เกิดขึ้นชั่วคราวในปีนั้นปีเดียว

2. Net Profit Growth Rate (%) อัตราเติบโตของกำไร แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของกิจการ หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่าย รวมทั้งภาษีเงินได้แล้ว
ค่ายิ่งสูงยิ่งดี ควรสูงกว่า 5% ขึ้นไป

3. ROE (%) = กำไร / ส่วนของผู้ถือหุ้น ยิ่งสูงยิ่งดี เอาเงินผู้ถือหุ้นไปสร้างกำไรได้มาก บริษัทที่มี ROE ในระดับสูง (เกิน 15% ต่อปี) ต่อเนื่องแสดงว่าเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งและมีความได้เปรียบคู่แข่ง

4. Dividend Yield (%) อัตราการจ่ายเงินปันผล อัตราเงินปันผลตอบแทน บอกว่าหากซื้อหุ้น ณ ราคาปัจจุบันจะมีโอกาสได้รับเงินปันผลเป็นอัตราร้อยละเท่าไรของราคาหุ้น
ค่ายิ่งสูงยิ่งดี ทั้งนี้ต้องพิจารณาความต่อเนื่องและการเติบโตของเงินปันผลด้วย (ค่าเฉลี่ย SET ประมาณ 2.5 – 3% ต่อปี)

5. D/E Ratio (X) = หนี้สิน/ ส่วนของผู้ถือหุ้น D/E บอกถึง ภาระหนี้สินของบริษัท หนี้ต้องไม่สูง เพราะหากหนี้สูง หมายถึงความเสี่ยงทางด้านการเงินก็จะตามมา
ค่าที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 1-2 เท่า (ถ้าเป็นหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินอาจจะไม่ใช้สัดส่วนนี้)

6. PER Band เปรียบเทียบราคาหุ้นกับ PE ในแต่ละระดับ ค่า P/E คำนวณมาจาก Price / Earning (เท่า) สิ่งที่เราจ่าย คือ ราคา, สิ่งที่เราได้ คือ กำไร เปรียบเทียบกันระหว่างของที่เราได้ กับของที่เราจ่าย มันคุ้มค่าไหม

7. PBV Band เปรียบเทียบราคาหุ้นกับ PBV ในแต่ละระดับ ค่า P/BV คำนวณมาจาก Price / Book Value (เท่า) Book Value คือ มูลค่าทางบัญชี ราคาที่เราจ่าย แพงกว่า Book Value เท่าไร หรือ บอกว่าซื้อถูก หรือแพงกว่าเจ้าของเท่าไรนั้นเอง

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่