นักลงทุนมือใหม่ๆ ที่อยากจะลงทุนในสถานการณ์ที่ตลาด ผันผวน อาจจะคิดว่าลงทุนในหุ้นตัวไหนดี บทความนี้ ZA.IN.TH จะมาแนะนำให้ลองมาดูหุ้นพื้นฐานดีกัน เพราะหุ้นพื้นฐานดีจะไม่เปลี่ยนแปลงตามสภาวะของตลาดมากนัก การลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี ทำให้ความตึงเครียดของนักลงทุนลดลงเพราะไม่ต้องมากังวลกับภาวะผันผวนมาก ด้วย 5 วิธีดูหุ้นพื้นฐานดี
ความจุดแข็งและมีความสามารถในการแข่นขัน
สำหรับนักลงทุนที่อยากจะการลงทุนระยะยาวต้องพยายามมองภาพอนาคตการเติบโตของบริษัท ว่าจะมีความสามารถในเติบโต จุดแข็งในการแข่งขันของบริษัท ซึ่งนักลงทุนต้องมีความสามารถที่จะแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งและทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดเพื่อจะได้มีส่วนแบ่งในตลาดมาก แน่นอนว่าถ้าเป็นอันดับหนึ่งในตลาดหรืออุตสหกรรมก็เป็นการดี แต่ถ้ามีกำลังในการแข่งขันอย่างยั่งยืน หรือหากเป็นธุรกิจหน้าใหม่หรือมีคู่แข่งน้อยรายได้ก็จะยิ่งดี เพราะหมายความว่าจะได้เปรียบด้านการแข่งขันมากขึ้น
สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ
ในการที่บริษัทดำเนินธุรกิจก็ต้องเป็นการลงทุนที่ได้กำไร พิจารณาไปตั้งแต่กำไรขั้นต้นไปจนถึงกำไรสุทธิซึ่งเป็นกำไรขั้นสุดท้ายที่บริษัทจะได้ จะเป็นการดีถ้าบริษัทมีกำไรสม่ำเสมอ อย่างน้อยมากกว่า 3 ปีขึ้นไป และพิจารณาลงไปในรายละเอียดว่าผลกำไรควรได้มาจากการขายสินค้าและบริการหลักของบริษัทนั้นจริงๆ เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นประจำ ต้องหลีกเลี่ยงการลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างขาดทุนต่อเนื่อง การที่ธุรกิจมีภาพลักษณ์เป็นบริษัทที่ทำไปก็ขาดทุนจะทำให้การปรับตัวขึ้นของราคาจะเป็นไปได้ยากมาก แถมไม่มีเงินปันผลเหลือให้กับผู้ถือหุ้นอีกด้วย ในบางกรณีบริษัทก็เอาเงินไปลงทุนจนทำให้เกิดการขาดทุน แต่จะส่งผลดีต่อบริษัทในระยะยาว ซึ่งก็ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป
การเติบโตต่อเนื่อง
บริษัทที่น่าลงทุนควรจะต้องการเติบโตในด้านยอดขาย รายได้ที่เติบโตต่อเนื่อง ที่เหมาะสมคืออย่างน้อย 3-5 ปี จะเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า บริษัทยังเติบโตต่อได้และยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว ซึ่งก็คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตบริษัทก็คงมีรายได้มากขึ้นอีก นักลงทุนเองก็สามารถสบายใจได้ว่าในปีต่อไปก็มีโอกาสสูงที่จะได้กำไร
อัตราส่วนหนี้สินต่อต้นทุนไม่สูง
สภาพคล่องดี มีเงินทุนหมุนเวียนพอสมควร และไม่ควรมีหนี้สินระยะยาวมากเกิน ให้สังเกตที่ เป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างหนี้สินทั้งหมดที่บริษัทมี กับส่วนของเจ้าของที่เป็นเงินลงทุนและกำไรสะสมของบริษัท หากมากกว่า 1 เมื่อขาดสภาพคล่องหรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ก็จะเกิดปัญหาทันทีและอาจเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องได้ หากบริษัทไม่มีความสามารถในการทำกำไรและยังมีหนี้สินสูง ก็อาจก่อให้เกิดการขาดทุนสะสมและต้องปิดกิจการลงในที่สุด
กำไรสะสมเพิ่ม
กำไรสะสมจะเกิดจากการดำเนินงานเพื่อผลกำไรของบริษัท กำไรที่เหลืออยู่นับตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง หุ้นพื้นฐานดีจำเป็นต้องมีกำไรสะสมเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นส่วนที่บริษัทสามารถนำไปลงทุนต่อยอดเพื่อทำให้กิจการเติบโตขึ้นได้ และเงินส่วนนี้สามารถนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้อีกด้วย