ดัชนีตลาดหุ้นไทย
ดัชนีตลาดหุ้นไทย สัปดาห์นี้ (13 – 17 ม.ค.2563) มีการปิดที่ระดับ 1,600.48 จุด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.26% ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 62,787.11 ล้านบาท ลดลง 0.93% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 1.66% จากสัปดาห์ก่อน มาปิดที่ 308.80 จุด
5 หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดเมื่อปิดสัปดาห์
GPSC – บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 3,312,730.32 (‘000 บาท)
GULF – บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 3,084,723.95 (‘000 บาท)
BAM – บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 3,062,293.78 (‘000 บาท)
KBANK – ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 2,863,454.20 (‘000 บาท)
ADVANC – บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 1,992,873.30 (‘000 บาท)
5 หลักทรัพย์ที่มีปริมาณซื้อขายเมื่อปิดสัปดาห์
BEAUTY – บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 385,337,500 หุ้น
TMB – ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 340,034,200 หุ้น
IRPC – บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 149,863,000 หุ้น
BAM – บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 124,422,100 หุ้น
JAS – บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 80,341,000 หุ้น
5 หลักทรัพย์ที่มีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเมื่อปิดสัปดาห์
INET – บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 2.48 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 14.81 %
MALEE – บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 7.30 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 14.06 %
ALT – บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 1.33 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 11.76%
PORT – บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 2.56 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 11.30%
JUTHA – บริษัท จุฑานาวี จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 0.40 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 11.11%
มุมมองด้านเงินบาท
โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าและเคลื่อนไหวในกรอบที่ระมัดระวังมากขึ้น หลังจากที่ธปท. แสดงกังวลต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทและพร้อมใช้มาตรการเพิ่มเติมหากจำเป็น ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่ตลาดคาด อาทิ ยอดค้าปลีก และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้แรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยลบของเงินบาทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี สกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียแข็งค่าขึ้นตามเงินหยวน รับข่าวสหรัฐฯ ไม่ระบุจีนบิดเบือนค่าเงิน และสหรัฐฯ-จีนได้ลงนามดีลการค้าเฟสแรกอย่างเป็นทางการแล้ว
ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า
ผลประกอบการไตรมาส 4/62 ของบริษัทจดทะเบียนไทย โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ การพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ของวุฒิสภา ตัวเลขส่งออกเดือนธ.ค. ประเด็นการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน รวมถึงประเด็น BREXIT ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองเดือนธ.ค. และดัชนี PMI Composite (เบื้องต้น) เดือนม.ค. ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารกลางยุโรป ดัชนี PMI Composite (เบื้องต้น) เดือนม.ค. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. ของญี่ปุ่น