อัตราส่วนทางการเงินยอดฮิต P/E และ P/BV

1 Min Read

เชื่อว่าผู้ลงทุนหลายท่านและมือเก่าคงจะเคยได้ยินข้อมูลที่นักวิเคราะห์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนแนะนำอยู่ตลอดว่าอัตราส่วนการลงทุนมีความสำคัญ แต่หลายคนอาจจะยังไม่เท่าใจความหมายที่แท้จริง วันนี้เราจะมาแนะนำ P/E และ P/BV ถือเป็น อัตราส่วนทางการเงินยอดฮิต ที่นิยมใช้เป็นประจำกันในการศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ค่า P/E หรือ  Price to Earning

ค่า P/E สามารถประมาณการจุดคุ้มทุน ให้กับผู้ลงทุนได้ เช่น หุ้น A ราคา 10 บาท มีกำไรต่อหุ้น 1 บาท ดังนั้น P/E เท่ากับ 10 เท่า หรือเราจะได้ทุน 10 บาทคืนเมื่อ ถือหุ้น A ครบ 10 ปี นี่คือแนวคิดเบื้องต้นที่ทำให้คิดได้ว่า… ควรซื้อหุ้นที่ P/E ต่ำๆ และขายหุ้น P/E สูงออกไป แต่สำหรับ บางกรณี หุ้นที่ P/E สูงๆ ก็ยังน่าลงทุน เช่น

หุ้นที่มีแนวโน้มของกำไรเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า Growth Stock หุ้นเหล่านี้จะมี P/E สูง แต่ถ้าต้องการดูว่าสูงจนแพงเกิน ราคาหรือไม่ ต้องดูที่ P/E ไม่เกินการ ขยายตัวของกำไร เช่น ถ้า คาดว่าหุ้นจะ มีกำไรโต 15% ต่อปี ก็ไม่ควรมี P/E เกิน 15 เท่า หรือนำ P/E หารด้วย Growth ถ้าได้ต่ำกว่า 1 มากเท่าไร ก็ยิ่งดี

หุ้นที่มีสภาพคล่องดี มักมี P/E สูงกว่า พวกหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่ๆ และซื้อขายปริมาณมากในแต่ละวัน

P/BV หรือ Price to Book Value

เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น ซึ่งหุ้นที่มี P/BV ต่ำ ย่อมจะดีกว่าหุ้นที่มี P/BV สูง ค่านี้เป็นที่นิยมเนื่องจากหาได้ง่ายจากงบการเงิน แต่อาจเบี่ยงเบนจากมาตรฐานได้ถ้าใช้มาตรฐานบัญชีที่แตกต่างกัน และไม่เหมาะที่จะใช้กับธุรกิจบริการที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย

BV หรือ Book Value แปลเป็นไทยคือ “มูลค่าตามบัญชี” ก็คือมูลค่าส่วนผู้ถือหุ้น หรือถ้าความหมายจริงๆ ก็คือ มูลค่าของทรัพย์สินที่หักด้วยหนี้สินแล้ว เหลือเป็นมูลค่าของผู้ถือหุ้นเท่าไร

เนื่องจากเป็นมูลค่าทางบัญชี มันจึงเกิดปัญหาขึ้นมาคือ การลงบัญชีนั้นแต่ละบริษัทอาจบันทึกสินทรัพย์และหนี้สินแตกต่างกันไป เช่นสินทรัพย์ถูกกำหนดให้บันทึกมูลค่าที่ราคาทุน คือราคาที่ได้สินทรัพย์นั้นมา บางบริษัทมีที่ดินที่บันทึกไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว พอมาถึงปัจจุบันมูลค่าของที่ดินเพิ่มขึ้นมาหลายเท่าตัว แต่มูลค่าที่บันทึกลงในบัญชีนั้นยังมีมูลค่าเท่ากับเมื่อ 20 ปีที่แล้ว หากไม่มีการประเมินมูลค่าและบันทึกบัญชีใหม่มูลค่าก็ยังคงบันทึกเอาไว้เท่าเดิม

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่