ดัชนีตลาดหุ้นไทย
ดัชนีตลาดหุ้นไทย สัปดาห์นี้ (6 – 10 ม.ค.2563) มีการปิดที่ระดับ 1,580.63 จุด ลดลง 0.90% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 63,374.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.82% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai ลดลง 2.51% จากสัปดาห์ก่อน มาปิดที่ 303.75 จุด
5 หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดเมื่อปิดสัปดาห์
BAM – บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 2,785,283.01 (‘000 บาท)
GPSC – บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 2,739,586.68 (‘000 บาท)
ADVANC – บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 2,181,417.90 (‘000 บาท)
PTT – บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 2,176,950.38 (‘000 บาท)
KBANK – ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มูลค่าซื้อขาย 2,020,421.35 (‘000 บาท)
5 หลักทรัพย์ที่มีปริมาณซื้อขายเมื่อปิดสัปดาห์
BEAUTY – บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 480,581,500 หุ้น
TMB – ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 308,572,100 หุ้น
WHA – บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 136,174,700 หุ้น
BAM – บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 124,667,000 หุ้น
TWZ – บริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปริมาณซื้อขาย 123,173,400 หุ้น
5 หลักทรัพย์ที่มีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเมื่อปิดสัปดาห์
AQ – บริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 0.02 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 100 %
EIC – บริษัท อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 0.04 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 33.33 %
PACE – บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 0.08 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 14.29 %
SMT – บริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 1.15 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 10.58 %
GLAND – บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) ราคาล่าสุด 2.22 บาท เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 9.90 %
มุมมองด้านเงินบาท
เงินบาทลดช่วงติดลบกลับมาบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังสหรัฐฯ แถลงตอบโต้อิหร่านด้วยวิธีการคว่ำบาตร ไม่ใช่ปฏิบัติการทางการทหาร ซึ่งทำให้ตลาดคลายความกังวลต่อสถานการณ์ในตะวันออกกลางลง เงินบาทอยู่ที่ 30.23 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 30.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า สัญญาณการเดินหน้าเจรจาการค้าของสหรัฐฯ-จีนในเฟสต่อๆ ไป ประเด็น BREXIT และสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก แนวโน้มภาคธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และ ตลาดอาจรอติดตามข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4/62 และตัวเลขเศรษฐกิจเดือนธ.ค. 62 ของจีนด้วย
แนวโน้มสัปดาห์หน้า
โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลประกอบการไตรมาส 4/62 ของบริษัทจดทะเบียนไทย สถานการณ์หลังการลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐฯ-จีน สถานการณ์ในตะวันออกกลาง รวมถึงประเด็น BREXIT ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิตและดัชนีราคาผู้บริโภค ยอดค้าปลีก ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค. ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนธ.ค. ของญี่ปุ่น ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. ของยูโรโซน รวมถึงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/62 และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนธ.ค.ของจีน