AMANAH อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง น้องใหม่ที่เข้ามาอยู่ใน sSET ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ได้ประกาศผลการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ใช้สำหรับคำนวณดัชนี sSET โดยมีหลักทรัพย์เข้าใหม่ 15 หลักทรัพย์ ได้แก่ AMANAH, ANAN, BA, BEAUTY, DRT, EPCO, LALIN, PLAT, RPH, SABINA, SAMTEL, SIRI, SMPC, TAE & ZEN วันที่เราจึงมาทำความรู้จักกับ AMANAH อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง สำหรับให้นักลงทุนหน้าใหม่ได้อ่าน และติดตามสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ
AMANAH หรือ บริษัท อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) กลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจการเงิน หมวดธุรกิจ เงินทุนและหลักทรัพย์ เริ่มต้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ 25 ธ.ค. 2544 ที่ราคาพาร์ 1.00 บาท ทุนจดทะเบียน 1,040,917,341.00 บาท จำนวนหุ้นจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1,029,127,025 หุ้น
ลักษณะธุรกิจ ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อ
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามข้อมูลเมื่อ 6 มี.ค. 2562 ธนาคาร อิสลามแห่งประเทศไทย ถือ 48.75 % ธนาคารที่ดำเนินงานถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ปัจจุบันธนาคารมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง อันดับ 2 คือ ภานุรังษี ศรีวรัฏฐา ถือครอง 4.99 %
ด้านงบการเงิน AMANAH มีกำไรเติบโตมาต่อเนื่อง 9 เดือน 2563 กำไรอยู่ที่ 177.52 ล้านบาท จากการปล่อยสินเชื่อ ค่าธรรมเนียมและบริการ รวมถึงรายได้อื่นๆส่วนใหญ่จากการติดตามลูกหนี้ที่มีคำพิพากษาเติบโตสูง หากพิจารณาเป็นรายไตรมาสเห็นว่ากำไรพื้นตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2561 เป็นต้นมา
นโยบายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 จากกำไรสุทธิของงบการเงินรวมในแต่ละงวดบัญชีหลังจากหักสำรองตามกฏหมายและขาดทุนสะสมยกมาแล้ว (ถ้ามี) (โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม) ในปี 2561 และ 2562 ก็มีการจ่ายเงินปันผลและหุ้นปันผล ผลตอบแทนเงินปันผลอยู่ที่ 0.23% (ณ 8 ม.ค.63)
อนาคตของ AMANAH ขึ้นอยู่กับการขยายสินเชื่อ เพื่อรับรายได้จากดอกเบี้ย พร้อมกับการควบคุมความเสี่ยงของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Finance: NPF) เนื่องจาก “หัวใจสำคัญ” ของธุรกิจคือ “คุณภาพสินเชื่อ” หากลูกหนี้ไม่มีคุณภาพจะต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึง “ค่าใช้จ่าย” ที่จะเกิดขึ้นในงบกำไร-ขาดทุน