การจะมีอนาคตทางการเงินที่มั่นคง จำเป็นต้องอาศัยการวางแผนการเงินที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน ใครที่เคยคิดว่า การวางแผนการเงินนั้นยาก เห็นทีต้องคิดใหม่เพราะจริง ๆ แล้วไม่ยากเลย เพียงคุณทำตามขั้นตอนง่ายๆ 5 ขั้นตอนนี้เท่านั้น
1. ประเมินฐานะการเงิน
นำสินทรัพย์ทั้งหมดมาเป็นตัวตั้งแล้วหักลบด้วยหนี้สินทั้งหมดส่วนที่เหลือจึงเป็นส่วนของคุณ หรือที่เรียกว่า “ความมั่งคั่งสุทธิ” ซึ่งเป็นตัวที่สะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริงของคุณเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสามารถประเมิน “ความมั่งคั่งสุทธิ” ได้คือการทำบัญชีสินทรัพย์และหนี้สิน
2. ตั้งเป้าหมายให้ชัดและสอดรับกับความสามารถทางการเงิน
ในชีวิตจริงคนเรามีเป้าหมายทางการเงินหลายอย่าง เช่น อยากมีบ้าน มีรถ มีครอบครัว มีลูก มีชีวิตที่ดีหลังวัยเกษียณ แต่หากคุณมีข้อจำกัดทางการเงินคุณต้องตั้งเป้าหมายอย่างเป็นระบบชัดเจน โดยอาจแบ่งเป้าหมายออกเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถทางการเงินของคุณ เช่น เป้าหมายในระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี)จะเก็บเงินและใช้จ่ายแต่สิ่งจำ เป็นเป้าหมายระยะกลาง (1-3 ปี) จะเดินทางท่องเที่ยวเป็นกำไรชีวิต และระยะยาว (3 ปีขึ้นไป) จะซื้อบ้านและสร้างครอบครัว ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมายที่คุณวางไว้ด้วยหากเป้าหมายใดยังไม่สำคัญมาก และรอได้ก็ควรเลื่อนออกไปก่อน
3. จัดทำแผน…เพื่อไปสู่เป้าหมาย
เมื่อตั้งเป้าหมายแล้ว คราวนี้ก็มาถึงการจัดทำ แผน หรือเส้นทางเดินเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่เราปักธงไว
ตัวอย่าง : แผนสู่เป้าหมายทางการเงิน
สิ่งสำคัญคือ ระยะเวลา กับความสามารถในการเก็บเงิน ของคุณต้องสัมพันธ์กันด้วย เพื่อให้เป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นจริงมากที่สุด โดยไม่กดดันตัวเองมากเกินไป
เช่น หากคุณมีแผนที่จะปรับปรุงห้องครัวในอีก 1 ปีข้างหน้า โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 60,000 บาท คุณต้องเก็บเงินเดือนละ5,000 บาท แต่หากจะปรับปรุงห้องครัวในอีก6 เดือนข้างหน้า คุณต้องเก็บเงินถึงเดือนละ10,000 บาท
4. ปฏิบัติตามแผน…อย่างเคร่งครัด
ไม่ว่าแผนที่วางไว้จะดีเพียงใดก็จะไม่เกิดประโยชน์เลยหากขาดการปฏิบัติที่จริงจังและต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นอย่าเผลอใจไปกับสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในแผนของคุณจะดีที่สุด
5. ตรวจสอบและปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ในระหว่างที่เราปฏิบัติตามแผนอยู่นั้น จำ เป็นอย่างยิ่งที่ต้องคอยตรวจสอบอยู่เสมอว่าการออมเงินเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่หากไม่เป็นไปตามแผนต้องหาสาเหตุให้ได้ว่า เกิดจากปัจจัยภายในคือตัวเราหรือปัจจัยภายนอกเช่น ราคาสินค้าเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม รายรับลดลง ฯลฯ แล้วหาทางปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
การวางแผนที่ดีจะช่วยให้เราเดินไปสู่จุดหมายได้ถูกทิศทาง แต่จะถึงเร็วหรือช้า หรือไม่ถึง นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณมีความตั้งใจแน่วแน่ และมีวินัยในการเก็บออมมากน้อยแค่ไหนด้วย
ติดตาม ประเมินผล ทบทวน และปรับปรุงแผน