พันธบัตรรัฐบาล ทางเลือกลงทุนความเสี่ยงต่ำ

1 Min Read

หนทางการเลือกลงทุน มีหลากหลายหนทางซึ่งหากไม่รู้จะลงทุนอะไรดี คุณมีเงินลงทุนแต่ไม่อยากแบกรับความเสี่ยงการลงทุนในกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนรวมหุ้น ที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่มีความเสี่ยงสูง ขอแนะนำอีกทางเลือกในการลงทุนเพื่อการออมเงินคือพันธบัตรรัฐบาล

พันธบัตรรัฐบาล ถือรูปแบบหนึ่งการลงทุนแบบหนึ่ง ความน่าเชื่อถือสูง เป็นรูปแบบของการออมเงินแต่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการออมในรูปแบบของการฝากประจำหรือฝากออมทรัพย์ เนื่องจากว่าให้ดอกเบี้ยสูงกว่า บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ “พันธบัตรรัฐบาล” กัน

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) หรือ ตราสารหนี้รัฐบาล ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งผู้ซื้อหรือนักลงทุนมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับการชำระหนี้และผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล จากลูกหนี้คือรัฐบาลหรือหน่วยงานที่ออกพันธบัตรนั้นๆ วิธีการลงทุนง่ายคือเมื่อรัฐเปิดกำหนดการขายพันธบัตรเราก็นำเงินลงทุนไปซื้อที่ธนาคารที่ให้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด ความเสี่ยงของการลงทุนก็เป็นความเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หายยังได้รับผลตอบแทนที่ดี จะได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากำหนด เช่น 1 ปี 3 ปี 5 ปี 7 ปี ง่ายๆคือซื้อพันธบัตรมาเก็บไว้จนถึงเวลาที่ต้องไถ่ถอนตามกำหนดสัญญาก็จะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยรายปี แต่เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุน จึงย่อมมีความเสี่ยงและเงื่อนไขการลงทุนที่เราต้องศึกษา

ตราสารหนี้รัฐบาลแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bills)
เป็นพันธบัตรที่มีความมั่นคงสูงสุด เพราะออกโดยกระทรวงการคลัง จึงมีความเสี่ยงน้อย แต่ผลตอบแทนต่ำ ตั๋วเงินคลังไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย แต่ใช้วิธีขายต่ำกว่าเพื่อให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน โดยระยะเวลาไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี

2. ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Debt Restructuring Bills)
เป็นพันธบัตรที่ออกโดยสถาบันการเงิน เพื่อระดมทุนช่วยเหลือฟื้นฟูกองทุน และพัฒนาสถาบันการเงิน มีความเสี่ยงมากกว่าตั๋วเงินคลัง ให้ผลตอบแทนด้วยวิธีขายต่ำกว่าราคาหน้าตั๋ว แต่ไถ่ถอนคืนเต็มราคา และไม่ได้รับดอกเบี้ย ไถ่ถอนได้ภายใน 6 เดือน

3. พันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds)
คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับพันธบัตรประเภทนี้ ที่ออกโดยรัฐบาลเพื่อระดมทุนไปใช้ในการบริหารประเทศ ลดการขาดดุลทางการเงิน ถือเป็นตราสารหนี้ระยะยาว มีอายุมากกว่า 1 ปี ส่วนใหญ่อยู่ที่ 3-7 ปี มีการจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง

4. พันธบัตรออมทรัพย์ (Government Savings Bonds)
เป็นการซื้อพันธบัตรเพื่อออมทรัพย์ โดยจะขายให้กับบุคคลทั่วไปและองค์กรไม่แสวงหากำไรในสังกัดของรัฐบาล มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป และจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง

สถานที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้รัฐบาล
ผู้ที่สนใจซื้อพันธบัตรรัฐบาลนั้น สามารถหาซื้อได้จากทั้งภาครัฐและหน่วยงานเอกชน
1. ภาครัฐ ได้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยหน่วยงานที่ทำหน้าเป็นตัวแทนในการออกพันธบัตรรัฐบาลตามประกาศกระทรวงการคลัง โดยวิธีหรืออาจทำการจำหน่าย ประมูลกับผู้ลงทุนโดยตรง
2. หน่วยงานเอกชน หรือสถาบันการเงินได้แก่สถาบันการเงินที่มีใบอนุญาติค้าหลักทรัพย์ เช่นธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน ) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ( มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน) ธนาคาร เอเชีย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ซิตี้แบงค์ ธนาคาร เอบีเอ็น แอมโร เอ็น. วี. ธนาคาร สแตนดาร์ดชาเตอร์ ธนาคาร ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร จำกัด

เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลถูกจัดให้เป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนจึงมีความเสี่ยงในการลงทุนเป็นธรรมดา ก่อนจะลงทุนในพันธบัตรคุณต้องทำความเข้าใจในจุดนี้ก่อน
ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวสูงขึ้น แต่คุณหมดสิทธิ์ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้นตาม เพราะพันธบัตรรัฐบาลเป็นดอกเบี้ยตายตัว
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) เพราะพันธบัตรมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ต้องถือให้ครบตามสัญญาจึงจะได้เงินคืน
ความเสี่ยงด้านสภาวะเงินเฟ้อ (Inflation Risk) ในกรณีที่ค่าเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ๆ แต่ดอกเบี้ยจากพันธบัตรยังเท่าเดิม ก็จะไม่คุ้มค่าที่ลงทุนไป

สามารถติดตามข่าวสารการขายพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้รัฐบาลได้ที่ https://www.bot.or.th หรือ ติดตามข่าวผ่านทางเว็บ ZA.in.th ได้เช่นกัน

และท้ายที่สุดที่สำคัญคือ ในการลงทุนพันธบัตรรัฐบาลนั้น ผู้ลงทุนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวด โดย บุคคลธรรมดาที่อยู่ในไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และบุคคลธรรมดาที่มิได้อยู่ในไทยหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่