กลยุทธ์ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เป็นรูปแบบการลงทุนที่สามารถทำได้หลากหลายและได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าสามารถทำเงินได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ส่วนในมุมมองด้านความเสี่ยงก็ถือว่าน้อยกว่าการลงทุนรูปแบบอื่นๆ วันนี้เราจึงจะมาแนะนำนการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี เพื่อนำมาอยู่อาศัยเองหรือสร้างรายได้ด้วยการซ่อมปรับปรุงและขายทำกำไร (Fix & Flip) ก็สามารถสร้างได้ดีไม่น้อยเลย ข้อดีของการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีคือ ราคาถูกกว่าท้องตลาด 30%-50% สามารถนำมาต่อยอดได้เป็นอย่างดี ซึ่ง Za.in.th ขอแนะนำแนวทางการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี
ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาบ้านในเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี
กรมบังคับคดี หรือ www.led.go.th อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและค้นหาบ้านได้อย่างสะดวกโดยพิมพ์คำว่า “ประมูลบ้าน กรมบังคับคดี” ใน Google ก็สามารถเข้าค้นหาได้เลย สามารถเข้าไปเลือกพื้นที่ทำเล ลักษณะบ้านที่ขาย ราคาประมูลตั้งต้น จำนวนเงินที่ต้องวางหลักประกัน และเงื่อนไขในการขาย ซึ่งในบทความนี้เราขอแนะนำให้มองวหาลักษณะการขายแบบ “ขายโดยปลอดการจำนอง” และเลือกบ้านที่ตรงกับความต้องการของคุณ
ขั้นตอนที่ 2 สำรวจสภาพและประเมินความเป็นไปได้
เมื่อได้หลักทรัพย์ที่เข้าตาตรงใจ มีโอกาสความเป้นไปได้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มก็เข้าไปสำรวจให้เห็นสภาพจริงว่าเป็นอย่างไร อาจจะต้องไปกับผุ้เชียวชาญเพื่อการประเมินค่าซ่อมแซมหรือปรับปรุงขั้นต้น เพื่อจะได้เตรียมประเมินงบประมาณและหรือวางแผนการขายในอนาคต ในบางกรณีอาจมีความยุ่งยากในขั้นตอนนี้เพราะอาจจะมีผู้อาศัยเดิมอยู่ แต่การประมูลบ้านที่ผู้พักอาศัยเดิมยังไม่ย้ายออก ถ้าเราชนะการประมูลและชำระเงินเรียบร้อยแล้ว หากผู้พักอาศัยเดิมไม่ยอมย้ายออก เราสามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่เพื่อขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปขับไล่แทน โดยที่เราไม่ต้องไปยื่นฟ้องใหม่
ขั้นตอนที่ 3 เข้าประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี
ในกระบวนการขั้นตอนเข้าประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี บัตรประชาชน พร้อมสำเนาที่เซ็นชื่อแล้ว และเงินวางหลักประกันการประมูล เข้าสู่ขั้นตอนเริ่มต้นประมูล ซึ่งเทคนิคในการประมูลเราควรต้องมีตัวเลขวงเงินที่ตั้งไว้ ว่าจะไม่ประมูลเกินวงเงิน หากมีการไล่ราคาหรือแข่งกันเกินไปควรหยุดประมูล เดี๋ยวจะได้บ้านราคาแพงเกินกว่าจะนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ หลังชนะการประมูลต้องทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน หรือขยายเป็น 3 เดือนได้ตามเหตุผลในการร้องขอ เมื่อชำระเรียบร้อยจะได้รับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์เพื่อนำไปยังสำนักงานที่ดิน ให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนอง และโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อต่อไป
ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงบ้านและขายทำกำไรแบบเหนือชั้น
เน้นการซ่อม หลีกเลี่ยงการเปลี่ยน จากสภาพทรุดโทรมและดูไม่ดีให้กลับมาดูดีให้เตะตาต้องใจเพื่อขาย หลีกเลี่ยงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเพื่อขาย ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเฉพาะในส่วนเท่าที่จำเป็นแทน เพื่อไม่ให้ต้นทุนสูงจนเกินไป และเริ่มทำการตลาดขายบ้านทำกำไร ช่วงที่ตลาดดี มีผู้ซื้อเยอะ ขณะที่ผู้ขายน้อยมีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง แต่ระวังในช่วงตลาดซบเซา ผู้ซื้อมีไม่มาก แต่ผู้ขายบ้านมีอยู่มากมายทุกหนแห่งก็จะไม่เหมาะที่จะทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเพื่อขาย เพราะทำแล้วโอกาสประสบความสำเร็จที่จะได้เงินคืนมีน้อยมาก
ประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีเป็นทางเลือกที่น่าสนใจแต่มีหลายเรื่องที่ต้องคำนึง ทั้งค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม วงเงินในการประมูล เงินเผื่อไว้สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รวมและก็สูงอยู่ หรือบางครั้งมีเงื่อนไขการกู้ธนาคาร ทำให้ทุกคนต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี ควรประเมินข้อดีและข้อควรระวังต่างๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด