เริ่มลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมั่นใจ กับธนาคารออมสินเชื่อแฟรนไชส์ ธนาคารออมสินเชื่อแฟรนไชส์ ให้ผู้ขอสินเชื่อรายละไม่เกินมูลค่าของสัญญาที่เจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและ/หรือค่าใช้จ่ายในการลงทุนทำธุรกิจ วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 1.0 ล้านบาท/ราย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัด ไม่ชำระหนี้ ให้เป็นไปตามที่ธนาคารประกาศกำหนด, ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ประเภทเงินกู้ระยะสั้นให้มีการทบทวนวงเงินทุกปี, ประเภทเงินกู้ระยะยาวไม่เกิน 7 ปี และกรณีใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันให้มีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี ผู้ขอสินเชื่อต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ เมื่อรวมกับระยะเวลาชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 60 ปี เป็นผู้รับสิทธิในการเข้าร่วมทำธุรกิจในการจำหน่ายสินค้า/บริการภายใต้ตราหรือเครื่องหมายการค้า/บริการของเจ้าของแฟรนไชส์หรือผู้ให้สิทธิที่ทำ MOU กับธนาคารมีสถานที่ประกอบการ/ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสม ต้องผ่านการอบรมจากเจ้าของแฟรนไชส์หรือผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์
สินเชื่อแฟรนไชส์ จำนวนเงินให้กู้ รายละไม่เกินมูลค่าของสัญญาที่เจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและ/หรือค่าใช้จ่ายในการลงทุนทำธุรกิจ วงเงินกู้สูงสุดรายละ 1 ล้านบาท ระยะเวลาชำระคืน ประเภทเงินกู้ระยะสั้น: ให้มีการทบทวนวงเงินทุกปี ประเภทเงินกู้ระยะยาว: ไม่เกิน 7 ปี หลักประกัน บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด ที่ดินที่เป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด หลักประกันทางธุรกิจ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดอัตราดอกเบี้ย เป็นไปตามที่ธนาคารประกาศกำหนด
ขั้นตอนขอสินเชื่อแฟรนไชส์กับธนาคารออมสิน
1. ศึกษาข้อมูลแฟรนไชส์ที่ทำ MOU กับธนาคารออมสิน เลือกแฟรนไชส์ที่อยากลงทุน
2. ติดต่อเจ้าของแฟรนไชส์เพื่อขอข้อมูลแพ็กเกจและราคา เข้าอมรม และรับหนังสือผ่านสิทธิ์เพื่อนำมายื่นกู้
3. เตรียมเอกสารขอกู้ และติดต่อธนาคารออมสินเพื่อยื่นขอสินเชื่อ
4. ธนาคารพิจารณาสินเชื่อ อนุมัติ และจัดทำนิติกรรมสัญญา
5. เจ้าของแฟรนไชส์ส่งมอบอุปกรณ์การทำธุรกิจให้แฟรนไชส์ซี โดยมีเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินคอยให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
6. นำเงินกู้ชำระค่าธรรมเนียมให้เจ้าของแฟรนไชส์
7. ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ และชำระเงินกู้ตามสัญญา
ธนาคารออมสิน มีสถานะรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย เน้นการให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย โดยมีรูปแบบของสินเชื่อและชนิดการฝากเงินรายย่อยมากมาย อีกทั้งยังสร้างเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มชุมชน โครงการธนาคารเพื่อประชาชน โดยให้สินเชื่อระยะสั้น แก่ผู้ประกอบการรายย่อย (ให้ประชาชนมาเป็นหนี้ในระบบ ที่สามารถตรวจสอบได้ และการเก็บดอกเบี้ยตามความเป็นจริง) เป็นช่องทางการรับและจ่ายเงินกู้ จากโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อีกทั้งยังลงทุนในการพัฒนาประเทศ ของหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ให้บริการรูปแบบเงินฝากที่หลากหลาย เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย รวมทั้งมีการให้บริการตามหลักศาสนาอิสลาม ปัจจุบันมีจำนวนสาขาทั้งหมด 1,057 แห่งทั่วประเทศ