การเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency) ในยุคปัจจุบันเป็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วโลก หรือที่รู้จักในชื่อว่าสกุลเงินดิจิทัล ที่อาจจะเข้ามาทดแทนการใช้เงินสดหรือแม้แต่เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการเติบโตของคริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency) มีความปลอดภัยและสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้งาน ขณะที่เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยลดบทบาทตัวกลางอย่างสถาบันการเงิน ที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ธนาคารกลางทั่วโลกจึงหันมาศึกษาความเป็นไปได้ในการนำบล็อกเชนมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงิน และการออกใช้ Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าที่จะเป็นตัวแทนของเงินได้จริงๆ โดย Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) ถือเป็น “สกุลเงิน” ในรูปแบบดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็นสื่อกลางเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ สามารถรักษามูลค่า และเป็นหน่วยวัดทางบัญชีได้ ซึ่งต่างจากคริปโตเคอร์เรนซีอย่าง Bitcoin Ether หรือ Ripple ที่ออกโดยภาคเอกชน และมีมูลค่าผันผวนจากการใช้เพื่อเก็งกำไร จึงไม่เหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน (wholesale CBDC) และสำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชน (retail CBDC)
นับเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นของไทยในการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด (cashless society) และเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล (digital asset) ที่เป็น stable coin ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยเป็นต่อยอดจากโครงการอินทนนท์ที่ใช้ทำธุรกรรมระหว่างธนาคารกลางกับธนาคารกลาง มาสู่ภาคธุรกิจ โดยเงินจะอยู่ในโมบายแบงกิ้ง หรือแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง แต่จะถูกแยกบัญชี เป็นสกุลเงินดิจิทัลตามวงเงินที่กำหนดไว้ จากเดิมที่รัฐจะให้เงินผ่านประกันสังคมหรือโอนเข้าบัญชี ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเงินได้นำไปใช้ถูกวัตถุประสงค์หรือไม่แม้จะใช้ระบบ Blockchain ในการทำธุรกรรมเหมือนกัน แต่สกุล “เงินบาทดิจิทัล” ใหม่นี้ จัดเป็น “Central Bank Digital Currency (CBDC)” ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกับ “Cryptocurrency” อยู่หลายอย่าง โดยหลัก ๆ แล้วจะมี 4 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่
1. ผู้ควบคุม CBDC จะถูกสร้างและควบคุมโดยหน่วยงานรัฐอย่างธนาคารกลางหรือหน่วยงานในสังกัดจึงทำให้มีลักษณะเป็นแบบรวมศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งต่างจาก “Cryptocurrency” ที่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐมาเกี่ยวข้อง แต่ทุกคนในระบบจะทำการตรวจสอบด้วยกันเองทั้งหมด
2. การเปิดเผยตัวตน ข้อมูลบัญชี ข้อมูลการทำธุรกรรม รวมถึงข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ จะถูกหน่วยงานของภาครัฐรับรู้ หากทำธุรกรรมผ่าน “CBDC” แต่กับ “Cryptocurrency” จะไม่สามารถตรวจสอบใด ๆ ได้เลย
3. วัตถุประสงค์ “CBDC” ถูกออกแบบมาให้ใช้แทนเงินสด (Fiat Money) หรือก็คือมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็น “สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน” ในขณะที่ “Cryptocurrency” สามารถที่จะใช้สำหรับเก็งกำไร (Speculative) หรือแม้กระทั่งใช้แลกเปลี่ยนกันก็ได้
4. ความผันผวน “CBDC” มีลักษณะใกล้เคียงเงินสดของประเทศนั้น ๆ จึงทำให้มูลค่าของมันมีแนวโน้มที่จะเป็นไปตามตลาดค่าเงิน (Forex) ส่วน “Cryptocurrency” ส่วนมากในปัจจุบันมีความผันผวนที่สูงมาก จาก Demand & Supply ในตลาดเป็นหลัก
การเกิดขึ้นของสกุลเงินดิจิทัลอย่าง “CBDC” และ “Cryptocurrency” จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการทำธุรกรรมทางการเงินของทั้งโลกแบบควบคู่กันไป