รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีการเผิดเผยถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ได้มีเคาะจ่ายเยียวยาเพิ่มเติมใน 4 กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ประกอบด้วยเยียวยาเกษตรกร คนที่ลงทะเบียนไม่ทัน-ไม่มีเอกสารสิทธิ์, ผู้ถือบัตรสวัสดิการรัฐ กลุ่มเปราะบาง และผู้ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันไม่ผ่าน
1) กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1.6 ล้านราย
กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1.6 ล้านราย ที่ไมได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐอื่นๆ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด จำนวน 1,164,222 คน (กรอบวงเงินจำนวน 3.4 พันล้านบาท) จะได้รับเงินเดือนละ 1 พันบาท 3 เดือน (พ.ค.-ก.ค.) โดยไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่แต่อย่างใด เนื่องจากจะเป็นการจ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
2) กลุ่มที่ลงทะเบียน “เราไม่ทิ้งกัน” ไม่สำเร็จ
กลุ่มที่ลงทะเบียน “เราไม่ทิ้งกัน” ไม่สำเร็จ และไม่เคยได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ รวมถึงไม่ใช่กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จำนวนทั้งสิ้น 3.02 แสนราย รวมเป็นวงเงิน 906 ล้านบาท จะให้สศค. พิจารณากำหนดกลุ่มเป้าหมายและกลไกให้ชัดเจน ให้เสร็จภายใน 1 เดือน
3) กลุ่มเปราะบาง
กลุ่มเปราะบาง ซึ่งประกอบด้วย เด็กแรกเกิด-6 ขวบจากครัวเรือนยากจน จำนวน 1.3 ล้านคน, กลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปี จำนวน 4 ล้านคน และ กลุ่มผู้พิการ จำนวน 1.3 ล้านคน ซึ่งไม่ได้รับเงินเยียวยาจากมาตรการอื่นๆ ของภาครัฐมาก่อน จำนวนทั้งสิ้น 6.7 ล้านคน ภายใต้กรอบวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท
จะได้รับเงินเยียวยาเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน พ.ค.-ก.ค. ซึ่งเป็นการจ่ายเพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนและเบี้ยยังชีพที่จ่ายให้อยู่แล้ว การจ่ายจะจ่ายให้เดือนมิ.ย. นี้รวม 2 เดือน (ย้อนหลังของเดือน พ.ค.) และจ่ายอีกครั้ง คือ ในเดือน ก.ค. อีก 1,000 บาท
4) เยียวยาเกษตรกร
เยียวยาเกษตรกร ที่เพิ่มเติมจาก 7 ล้านราย ที่กระทรวงเกษตรฯจ่ายไปแล้ว โดยให้
1. เพิ่มเกษตรกรกลุุ่มที่ด้อยโอกาส ที่เข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรและไม่มีเอกสารสิทธิ์ ที่ดินทำกินของตัวเอง มีจำนวน 1.3 แสนราย และไม่ได้รับเงินจากมาตรการอื่น โดยการจ่ายจะอยู่ภายใต้เกณฑ์เดียวกับการเยียวยาเกษตรกร
2. ขยายเวลาให้กลุ่มเกษตรกรที่ไม่สามารถปรับปรุงและลงทะเบียนได้ทันภายใน 15 พ.ค.ที่ผ่านมา จำนวน 1.2 แสนราย ครม.ได้มีมติขยายเวลาให้เกษตรกรทำการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน 15 ก.ค.