วันนี้ ZA.IN.TH ก็จะมานำเสนออีกหนึ่งบทความที่จะแนะนำขั้นตอน ง่ายๆ ในการเลือกลงทุนเพื่อการลงทุนที่มั่งคั่งตั้งแต่การสำรวจตนเอง ตั้งเป้าหมาย เข้าใจเงินลงทุน ศึกษาสิ่งที่อยากลงทุน ไปจนถึงการทบทวนพอร์ตเป็นประจำ เพียงเท่านั้นเงินของคุณงอกเงยเป็นหลักล้านได้ไม่ยาก
การสำรวจตนเอง
สำรวจตนเองการสำรวจตนเองเป็นการหาระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือ Risk Tolerance เพื่อให้สามารถจัดพอร์ตลงทุนและเลือกสินทรัพย์ลงทุนใด้เหมาะสมกับตัวเรา ปัจจัยเสี่ยงนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการหลัก นั่นก็คือ
– อายุ ยิ่งอายุน้อยยิ่งรับความเสี่ยงได้สูง เพราะมีปัจจัยด้านเวลาเอื้ออำนวย
– ความรู้และประสบการณ์ ยิ่งความรู้มากยิ่งมีความเข้าใจตลาด สามารถรับความเสี่ยงที่สูงขึ้นได้
– เงินทุน แน่นอนว่ายิ่งเงินทุนหนา ยิ่งสามารถทำให้ลงทุนได้นานขึ้น รับความเสี่ยงได้มากขึ้น
ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น ความชอบของแต่ละคน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล คุณสามารถประเมินความเสี่ยงในการลงทุนด้วยตัวเองอีกด้วย
การหาเป้าหมาย
การตั้งเป้าหมายเป็นเงินเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงเพียงอย่างเดียว หนึ่งในวิธีการตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพคือ หลัก SMART ประกอบด้วย
1. Specific คือ เป้าหมายจะต้องมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจน เป้าหมายที่ตั้งด้วย หลัก SMART ต้องระบุอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรหรือต้องการอะไร
2. Measurable คือ เป้าหมายจะต้องสามารถวัดได้ในทางสถิติได้ (กำหนดเป้าที่จะวัดเป็นเลข) ซึ่งการทำให้เป้าหมายวัดได้ด้วยตัวเลขจะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จ
3. Achievable คือ เป้าหมายจะต้องเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุผลได้จริง หรือก็คือเป้าหมายที่ตั้งตามหลัก SMART ต้องตั้งให้มันเป็นไปได้
4. Realistic คือ การที่เป้าหมายจะต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง เป็นการตั้งเป้าหมายให้สมเหตุสมผลกับสิ่งที่เป็นอยู่หรือสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขององค์กร
5. Timely หมายถึง การที่การตั้งเป้าหมายที่ดีจะต้องมีการกำหนดช่วงระยะเวลาในการวัดผลที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น 1 เดือน 1 ไตรมาส หรือ 1 ปี
การสำรวจเงินทุน
ต่การลงทุนที่ดีไม่ควรเริ่มและจบด้วยเงินก้อนเดียว ต้องมีความต่อเนื่อง โดยปัจจุบันการลงทุนในกองทุนรวมนั้นสามารถตั้งรายการแบบตัดบัญชีอัตโนมัติได้ทุกๆ เดือนเพื่อเป็นการออมและลงทุนไปในตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนความเสี่ยงสูงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ที่อาจต้องใช้เวลาและความต่อเนื่องในการลงทุน ดังนั้นต้องดูว่า “เงินทุน” จริงๆ ของเรา สามารถนำเงินส่วนอื่นมาทำการลงทุนต่อเนื่องได้หรือไม่ ถ้าลงทุนแสนนี้ไปจะส่งผลกระทบอะไรกับตัวเราบ้าง
การศึกษาสินทรัพย์การลงทุน
สินทรัพย์สำหรับลงทุนนั้นมีหลากหลาย สามารถแบ่งออกเป็น 5 แบบได้ตามความเสี่ยงในการลงทุนดังนี้ เงินฝาก ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น สินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ การลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์อาจมีโอกาสที่ได้กำไร 20-30% ไปจนถึง 100% ตามระยะเวลา แต่ไม่ใช่ทุกการลงทุนที่จะทำกำไรได้ เราจึงต้องทำการกระจายการลงทุนไปหลากหลายสินทรัพย์ (Asset Allocation) เพื่อการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดสรรสินทรัพย์การลงทุน
เป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนแบบสุดโต่ง ที่เน้นซื้อหุ้นหรือกองทุนตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไปและเมื่อเวลาขาดทุนก็ไม่มีสิ่งใดช่วยลดความเสียหาย โดยหลักการกระจายการลงทุน ประกอบด้วย
– กำหนดเป้าหมายชัดเจนว่าเราต้องการเงินจำนวนเท่านี้ในระยะเวลากี่เดือน กี่ปี การกำหนดเป้าหมายจะทำให้ทราบว่าต้องลงทุนในสินทรัพย์รูปแบบไหน ใช้เงินลงทุนเบื้องต้นเท่าไหร่
– สำรวจเงินทุน ให้เวลากับการลงทุน ไม่ว่าจะอย่างไรก็ห้ามปล่อยการลงทุนทิ้งไว้เปล่าๆ ควรมีการสำรวจพอร์ตการลงทุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มต้นลงทุน เมื่อเกิดวิกฤตจนส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นจะทำให้เกิดอาการตกใจ ซื้อไวขายเร็วเพราะกลัวขาดทุนหนัก ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจตลาดระดับหนึ่ง
การทบทวนพอร์ตเป็นประจำ
ท้ายสุดคือการทบทวนพอร์ตการลงทุนของตัวเองเป็นประจำอย่างน้อยๆ ปีละ 1 ครั้งนะครับ ว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไร ตามสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงบ้าง ไม่ว่าจากปัจจัยสงครามการค้า การชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถทำได้โดย ถ้าเป็นช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ต้องระวัง อาจเน้นปรับเป็นพอร์ตแบบระวังตัว เน้นลงทุนตราสารหนี้ สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อลดความเสี่ยงที่มี ถ้าเป็นช่วงที่เศรษฐกิจขาขึ้น อาจเปลี่ยนเป็นพอร์ตเชิงรุก และลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เพิ่มความเป็นไปได้ในการทำกำไรมากขึ้น