DTAC ถูกเกินไปในทุกกรณี ไม่เด่นแต่ก็ยังอยู่ได้

2 Min Read


DTAC : บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี หมวดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลักษณะธุรกิจดำเนินธุรกิจให้บริการโทรคมนาคมและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วันที่เริ่มต้นซื้อขาย 22 มิ.ย. 2550 ราคาพาร์ 2 บาท ทุนจดทะเบียน 4,744,161,260.00 บาท จำนวนหุ้นจดทะเบียนกับ ตลท. 2,367,811,000 หุ้น

ราคาหุ้นของ DTAC ลดลง 44% YTD และเป็นหุ้นที่ผลตอบแทนแย่ที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ใน SET50 สาเหตุหลักมาจาก 1) การไม่เข้าประมูลคลื่น 2600 MHz ในวันที่ 16 ก.พ. 63 และ 2) การเลือก Rollout 5G บนคลื่น 26GHz และคลื่น 700MHz แทนการเร่ง Upgrade คลื่น 2300 MHz เพื่อสู้กับคลื่น 2600 MHz ของ ADVANC และ TRUE ทำให้ตลาดปรับลดประมาณการ DTAC ในยุค 5G จากสมมติฐานสูญเสียลูกค้า

DTAC ยังมีทางเลือกในการเข้าถึงคลื่นอื่นๆในอนาคต เช่น คลื่น 3500 MHz ซึ่ง THCOM จะหมดสัมปทานใช้งานใน 4Q64 และมีโอกาสต่ำมากที่ กสทช. จะปล่อยให้คลื่นไม่ถูกใช้งาน ดังนั้นในกรณีเลวร้ายที่สุด DTAC จะเผชิญความยากลำบากในด้านการตลาดอย่างมาก 1 ปี ครึ่งหาก DTAC สามารถรักษาฐานลูกค้าประคองตัวผ่านไปได้การไม่ประมูลคลื่น 2600MHz ที่มีความใกล้เคียงกับคลื่น 2300MHz จะเป็นการตัดสินใจที่ดีจาก 1) DTAC จะได้ลงทุน 5G ในเวลาที่เหมาะสมราคาต้นทุนอุปกรณ์ถูกลงและอยู่ภายใต้คลื่น 3500MHz ซึ่งเป็นมาตรฐานหลักของโลกและ 2) คู่แข่งอย่าง TRUE และ ADVANC ลงทุนในคลื่น 2600MHz ไปมากแล้วมีโอกาสต่ำที่จะทุ่มตลาดอีกในคลื่น 3500MHz สะท้อนเป็นราคาคลื่นที่ไม่สูง

การ Rollout 5G ช่วง 1-3 ปี แรก จะเน้นไปที่ลูกค้า High-end จากราคามือถือที่ยังสูง (iPhone11 ยังใช้ 5G ไม่ได้) และ Ecosystem เช่น Application ที่ยังไม่พร้อมสนับสนุน อย่างไรก็ดี ฐานลูกค้า DTAC ไม่ใช่ลูกค้า ชั้นเยี่ยมของอุตฯมาระยะใหญ่แล้ว เนื่องจาก DTAC ถูกแย่งส่วนแบ่งการตลาดมาตลอดหลายปี Positioning ของ DTAC ในวันนี้คือ การมีบริการด้อยกว่าแต่ยังพอรับได้ ในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง นอกจากนี้ DTAC ยังผ่านประสบการณ์สูญเสียภาพลักษณ์อย่างหนักในช่วง 3-5 ปี หลัง โดยในบางช่วงเวลาก่อนหน้า DTAC ถึงกับไม่มีคลื่นที่หมดสัมปทาน ผู้บริหารก็ยังสามารถประคองตัวได้ เทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ DTAC มีคลื่นในมือกว่า 70MHz (ไม่รวมคลื่น 26GHz) และฐานลูกค้าที่น้อยกว่าคู่แข่งมาก ท าให้เชื่อว่าจะสามารถประคับประคองตัวได้

ความคืบหน้าการประมูลคลื่น 3500MHz คาดในช่วงต้นปี 2564 จะเป็นปัจจัยสำคัญปลดล็อคราคาหุ้นอย่างไรก็ดีหาก Telenor ไม่เข้าประมูลคลื่น 3500MHz เชื่อว่าจะตลาดจะให้น้ำหนักกับการ Exit ออกจาก
ประเทศไทย เนื่องจาก Operators ที่ไม่ลงทุนใน 5G อย่างมีนัยสำคัญไม่มีโอกาสแข่งขันในตลาดในระยะยาว ในกรณีานี้คา Exit ไม่ควรต่ำกว่า 1.3 แสนล้านบาท (EV/EBITDA 6.7x) เนื่องจากตลาดประมูลคลื่น 5G ที่ไม่มีฐานลูกค้าและโครงข่ายรวมกันถึง 1 แสนล้านบาท ขณะที่ DTAC มีลูกค้าในมือ 20 ล้านเลขหมายและโครงข่ายพร้อมใช้งานทั่วประเทศและคลื่นอีก 70MHz ควรมีมูลค่าสูงกว่า

ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย
Author: ผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุน ซ่าอินไทย

ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่

Share this Article
ติดตามข่าวสารการเงินการลงทุนทุกรูปแบบได้ที่นี่