RSI หรือ Relative Strength Index กล่าวโดยสรุปถือเป็นเครื่องมือชี้วัดทางเทคนิค ประเภท Momentum เพื่อวัดการแกว่งตัวของราคา ว่ามีภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือ การขายมากเกินไป (Oversold) โดยมีค่าของ RSI จะเป็นค่าตั้งแต่ 0-100 ถูกพัฒนาโดย J. Welle Wilder ได้พูดถึงสูตร RSI ไว้ว่า
การคำนวณ RS สำหรับวันแรก ในการคำนวณ RSI
Average Gain วันแรก = ผลรวมของการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นที่เป็นบวกใน 14 วัน / 14
Average Loss วันแรก = ผลรวมของการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นที่เป็นลบใน 14 วัน / 14
การคำนวณ RS ในวันถัดไปจะถูกคำนวณจาก Average Gain, Loss ของวันก่อนหน้า และ การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในวันปัจจุบัน
Average Gain ในวันปัจจุบัน = ((Average Gain ของเมื่อวาน x 13) + การเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นวันนี้ถ้าเป็นบวก) / 14
Average Loss ในวันปัจจุบัน = ((Average Loss ของเมื่อวาน x 13) + การเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นวันนี้ถ้าเป็นลบ) / 14
เทคนิคในคำนวณค่า Average Gain, Loss ในวันปัจจุบัน โดยคำนึงถึงค่าของ Average Gain, Loss ในวันก่อนหน้าด้วย เป็นเทคนิคในการหาคาเฉลี่ยที่เหมือนกับการคำนวณ Exponential Moving Average ดังนั้น การคำนวณค่า Average Gain Loss จึงไม่ใช่การหาค่าเฉลี่ยแบบวิธีธรรมดาที่เราคุ้นเคย
การใช้เทคนิคในการหาค่าเฉลี่ยแบบเดียวกับ Exponential Moving Average เพื่อต้องการคำนึงถึงข้อมูลราคาปิดของหุ้นในทุก ๆ วันตั้งแต่วันแรก แต่จะให้น้ำหนักของข้อมูลที่ใกล้ปัจจุบันมากกว่าข้อมูลในอดีตที่ไกลออกไป ดังนั้นถ้าเราไม่ได้ใช้ราคาปิดของหุ้นตั้งแต่วันแรกที่หุ้นเข้าตลาดในการคำนวณค่า Average Gain ,Loss หรือค่า RS หรือค่า RSI ที่คำนวณได้จะเป็นแค่ค่าประมาณเท่านั้นแต่จะไม่ตรงกับค่า RSI ตามทฤษฎีแบบเป๊ะ ๆ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ข้อมูลตั้งแต่วันแรกในการคำนวณ แต่ใช้ข้อมูลย้อนหลังที่มากพอ (อย่างน้อย 250 วัน) ค่า RSI ที่คำนวณได้จะใกล้เคียงค่า RSI ทางทฤษฎีมาก ๆ และถือว่านำไปใช้งานได้
โดยค่ามาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปนั้นจะอยู่ที่ 30 และ 70 โดยหาก RSI อยู่ในระดับที่ตํ่ากว่า 30 จะถือว่าราคาอยู่ในภาวะ “ขายมากเกินไป” (Oversold) และหากมากกว่า 70 จะถือว่าราคาอยู่ในภาวะ “ซื้อมากเกินไป” (Overbought)
ภาวะการซื้อมากเกินไป หรือ Overbought เป็นการที่ราคาพุ่งไปสูงมาก จนอาจจะไม่มีคนซื้อต่อ เพราะคนเริ่มรู้สึกว่าหากซื้อที่ราคานั้นตนจะขายของไม่ออกนั่นเอง ส่วน ภาวะขายมากเกินไป หรือ Oversold เป็นการที่ราคาลดลงมากๆ หรือมีแรงขายจำนวนมากจนราคาเริ่มถูก จนทำให้ผู้ที่ต้องการซื้ออยากซื้อ หากเปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนกับการที่เราแห่เข้าไปซื้อสินค้าอย่างของกิน ของใช้ ในช่วงที่มีโปรโมชั่นหรือการลดราคา มาตุนไว้ใช้ในภายภาคหน้า
วิธีใช้งานอย่างง่าย น้อยกว่า 30 คือ Oversold ให้ซื้อ แต่ถ้ามากกว่า 70 คือ Overbought ให้ขาย
โดยปกติแล้วโปรแกรมต่างๆจะแบ่งเส้นมาให้ทั้งเส้น 30 เส้น 70 ซึ่งเราสามารถใช้ได้หรือปรับแต่งได้ตามต้องการว่าจะใช้ค่าไหน สิ่งที่สังเกตคือส่วนใหญ่หุ้นที่ใช้ RSI ได้ผลจะเป็นหุ้นที่ไม่เคลื่อนไหวแบบแคบหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Sideway